บทที่1  อรัมภบท  >> หน้า 9


จากสาขาวิชานี้มานับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 แต่เมื่อคนไทยศึกษาวิชานี้ ก็ควรจะมองจากแง่มุมของคนไทยและเพื่อคนไทย มากกว่าที่จะมองตามแบบฉบับของชาวยุโรปและอเมริกัน

          หนังสือเล่มนี้จัดแบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ภาค คือภาคที่หนึ่งเป็นการกล่าวถึงเนื้อหาสาระเกี่ยวกับตัวมนุษย์ในแง่สรีระหรือชีวภาพ โดยจะอธิบายรายละเอียดตั้งแต่บทที่ 2 ถึงบทที่ 7

         ในภาคที่สองเป็นการเน้นถึงสาขามานุษยวิทยาสังคมวัฒนธรรม ซึ่งเป็นสาขาที่ผู้คนให้ความสนใจกันมาก สาระสำคัญจะอยู่ในบทที่ 8 ถึงบทที่ 15 ส่วนในภาคที่สามนั้น เป็นการ กล่าวถึงประโยชน์ของการนำวิชามานุษยวิทยาไปใช้ในชีวิตประจำวันและในงานอาชีพ รวมทั้งจะชี้ให้เห็นถึงมิติใหม่ ๆ ในวงการสาขามานุษยวิทยาประยุกต์ ซึ่งจะได้อธิบายอย่างละเอียดในบทที่ 16

          ผู้ศึกษาควรอ่านคำนำย่อยที่สรุปเนื้อหาสาระของแต่ละภาคเสียก่อน จากนั้นจึงอ่านเรื่องราวรายละเอียดของแต่ละบท ทั้งนี้เพื่อจะสามารถทำความเข้าใจภาพรวมของแต่ละตอน สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาวิชานี้อย่างละเอียดในระดับสูง สามารถติดตามอ่านหนังสือและเอกสารอ้างอิงจากเชิงอรรถในตอนท้ายของแต่ละบทและจากบรรณานุกรมท้ายเล่ม

          ในการพิมพ์ครั้งนี้ ผู้เขียนได้นำบทความเรื่อง "วิธีวิทยาการวิจัยเชิงมานุษยวิทยากับการศึกษาสาขาครุศาสตร์" มาตีพิมพ์เป็นภาคผนวกเพื่อให้ผู้สนใจได้ศึกษาระเบียบวิธีการทำวิจัยเชิงมานุษยวิทยาพอสังเขป