บทที่1  อรัมภบท  >> หน้า 10


เชิงอรรถในบทที่ 1

          1สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการปฏิบัติการจิตวิทยาแห่งชาติ "ชาวเขาเผ่าเย้า," อ้างในดำรงค์ ฐานดี, มานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม. (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2520), หน้า 201 - 202.

          2กล่าวกันว่าอาณาบริเวณที่เรียกว่าสุวรรณภูมิหรือบนผืนแผ่นดินใหญ่ของเอเซียอาคเนย์มีชนเผ่าต่าง  ๆ อาศัยอยู่ราว 65 เผ่า โดยจำแนกออกเป็นเผ่า ๆ ตามภาษาตระกูลมอญ - เขมร

          3ตำนาน คือเรื่องแสดงกิจการอันมีมานานแล้วแต่ปางหลัง หรือเรื่องราวนมนานที่เล่าสืบ ๆ กันมา สารคดี ได้แก่เรื่องที่เขียนขึ้นจากเค้าความจริง ไม่ใช่จากจินตนาการ พงศาวดารเป็นเรื่องราวของเหตุการณ์เกี่ยวกับประเทศหรือพระมหากษัตริย์ ผู้เป็นประมุขของประเทศนั้น นิทานท้องถิ่น ได้แก่เรื่องที่เล่าจากปากต่อปากของชาวบ้าน คติชาวบ้าน เป็นเรื่องราวของชาวบ้านที่เป็นของเก่าเล่าต่อปากและประพฤติสืบ ๆ กันมาหลายชั่วอายุคน ในรูปคติ ความเชื่อ ประเพณี นิยาย นิทาน เพลง ภาษิต ปริศนา บททาย ศิลปะ สถาปัตยกรรม ตลอดจนการละเล่นของเด็ก ดูใน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2525. (กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2530)

         4อาณาจักรล้านนา ได้แก่บริเวณที่ใช้ภาษาคำเมือง (ไทยเหนือ) เป็นสื่อในการพูด และภาษาไทยยวนเป็นภาษาเขียน ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ และน่าน

          5ในยุคต้นของอาณาจักรล้านนา อยู่ในราวปี พ.ศ. 1204 (หรือตรงกับ ค.ศ. 716) ประกอบไปด้วยเมืองโยนกเชียงแสน เมืองฝาง (ไชยปราการ) เมืองหริภุญชัย (ลำพูน) และเมืองเชียงราย (มังราย) อารยธรรมของไทยในยุคนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับ เซนต์ ออกัสติน (คศ. 354 - 430) ในยุโรปและความรุ่งเรืองของอาณาจักรมายา (Maya A.D. 300 - 900) อาณาจักรโทลเทค (Toltec A.D.990 - 1160) และอาณาจักรแอ๊ซเทค (Aztec A.D. 1300 - 1519) ในแถบอเมริกากลางและอเมริกาใต้