ดังนั้น นักมานุษยวิทยารุ่นหนุ่มสาวในยุคนั้น
(ระหว่างปี คศ. 1945 - 1955)
จึงได้ประชุมและปรึกษาหารือ
รวมทั้งร่วมกันคิดค้นหาแนวทางหรือทฤษฎี
ตลอดจนวิธีการศึกษาใหม่
เพื่อที่จะนำไปใช้ศึกษาสังคมขนาดใหญ่ที่มีโครงสร้างสังคมที่สลับซับซ้อน
อีกทั้งสมาชิกของสังคมเหล่านี้ต่างอพยพมาจากถิ่นที่อยู่ต่างกัน
ทำให้มีความคิด
ความเชื่อ
ขนบธรรมเนียมประเพณี
และการดำเนินชีวิตไม่เหมือนกัน
ไคลด์ มิทเชลล์ (Clyde Mitchell)
อาจารย์หนุ่มจากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์กล่าวว่า
การค้นหาทางเลือกใหม่นี้เริ่มต้นขึ้นอย่างจริงจังในราวปี
คศ. 1954 เนื่องจาก (1)
เกิดความไม่พึงพอใจในการใช้แนวคิดตามทฤษฎีโครงสร้าง
- หน้าที่ (2)
มีการพัฒนาวิธีการศึกษาเชิงคุณภาพที่เน้นวิเคราะห์
"สายใยความสัมพันธ์" (social
network) ตามแนวคิดใหม่(8)
อนึ่ง
ในช่วงเวลาเดียวกันนี้
ก็เกิดความรู้สึกเช่นเดียวกันขึ้นในหมู่นักวิชาการชาวฝรั่งเศส
อาทิเช่น หลุยส์ ดูมองท์
ผู้ซึ่งอธิบายในข้อเขียนของเขาที่กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงระบบวรรณะของอินเดียว่า
เป็นผลมาจากความเจริญก้าวหน้าของสังคม
จึงทำให้คนเริ่มตระหนักถึงตนเองและครอบครัวของเขามากกว่าที่จะยึดถือและแสดงพฤติกรรมออกมาตามความคาดหวังของสังคมหรือตามกฎระเบียบทางประเพณีของสังคมและระบบวรรณะที่กำหนดไว้(้9)
ด้วยเหตุนี้
ขบวนการค้นหาทางเลือกใหม่จึงก่อตัวขึ้นและดำเนินการกันอย่างรีบเร่ง
นักวิชาการกลุ่มนี้ตั้งฐานอยู่ที่ภาควิชามานุษยวิทยาและสังคมวิทยาของมหาวิทยาแมนเชสเตอร์
โดยได้ร่วมมือกันในหมู่นักวิจัยสนามในยุคนั้น
(ราวปี พ.ศ. 2500)
อย่างจริงจังในการแปลความหมายของ
"สายใยแห่งความสัมพันธ์"
เสียใหม่ ทั้งนี้เพราะพวกเขาคิดว่า
สายใยแห่งความสัมพันธ์ที่เรดคลิฟ-บราวน์ใช้ในการวิเคราะห์นั้นเป็นไปในเชิงอุปมาอุปมัยหรือใช้เปรียบเทียบมากกว่าที่จะวิเคราะห์ตัวของสายใยโดยตรง(10)
ในการวิเคราะห์สายใยแห่งความสัมพันธ์
(Network Analysis)
ของคนในสังคมตามแนวใหม่นี้
คณะนักมานุษยวิทยากลุ่มนี้ได้ชี้ให้เห็นถึงประเด็นสำคัญดังนี้
|