(1) ให้ความสำคัญกับปัจเจกบุคคล
(individual)
ที่จะแสดงพฤติกรรมออกมาตามเหตุและผลของบุคคลคนนั้น
ดังนั้น
จึงมีการเรียกแนวการวิเคราะห์แบบนี้อีกชื่อหนึ่งว่า แนวการศึกษาปัจเจกบุคคลนิยม
(Individualistic Approach)
ซึ่งการศึกษาตามแนวนี้จะเน้นการวิเคราะห์พฤติกรรมของแต่ละบุคคลเป็นหลัก
เพราะถือว่าเป็นผู้สร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของเขาเอง
จะเห็นได้ว่า
วิธีการมองตามแนวนี้มีลักษณะตรงกันข้ามกับการมองพฤติกรรมของบุคคลตามสถานภาพและบทบาทของเขาตามความคาดหมายของคนในสังคม
ดังเช่นวิธีการมองทั้งสังคม
(Holistic Approach)
(2) เน้นศึกษา "กลุ่มของเส้นหรือตาข่าย"
(a set of lines or net)
ที่แต่ละบุคคลสร้างความสัมพันธ์ต่อกัน
ซึ่งสามารถมองเห็นและเขียนออกมาเป็นแผนภาพ
(diagram) ได้ นั่นคือ
เส้นของความสัมพันธ์อาจเป็นเส้นตรงจาก
ก. ไปยัง ข. เพียงทางเดียว
หรือต้องผ่านอีกคนหนึ่ง
เช่น จาก ก. ซึ่งเป็น "ผู้แสดง"
(actor or ego) ไปยัง ค.
ก่อนที่จะไปถึง ข.
ทั้งนี้เพราะ ก. รู้จัก ค. ดี
จึงขอร้องให้ ค.
ส่งผ่านความสัมพันธ์ของเขาไปยัง
ข.
จะเห็นได้ว่าเส้นของความสัมพันธ์จากตัวผู้แสดงจะแผ่ออกไปรอบด้าน
มีลักษณะเป็นเสมือน "ตาข่าย"
ของความสัมพันธ์ดังแสดงในแผนผังที่
8.1
แผนผังที่
8.1
เส้นแสดงตาข่ายของความสัมพันธ์ของแต่ละบุคคล
|