ได้รับการคัดลอกต่อกันเรื่อยมา
นอกจากนี้เอกสารประเภทตำนานยังมีปรากฏในภาคอื่น
ๆ ของไทยเช่นกัน อาทิเช่น
ตำนานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช
ในภาคใต้และตำนานพระธาตุพนม
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เป็นต้น (6)
ตำนานเหล่านี้เป็นตัวชี้ให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของสังคมต่าง
ๆ
ในแถบสุวรรณภูมิที่เกิดมีขึ้นนับตั้งแต่โบราณกาล
ทำให้คนไทยปัจจุบันสามารถสืบสาวเรื่องราวอารยธรรมที่เกี่ยวกับสภาพของสังคม
ศิลปวัฒนธรรม
และศาสนาของผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณแถบนี้ของโลก
ปัจจุบัน
ตำนานได้รับการแปลจากภาษาบาลีและภาษาไทยยวนเป็นภาษาไทย
ภาษาอังกฤษ
และภาษาฝรั่งเศสและพิมพ์ออกเผยแพร่ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา
(7)
นอกจากตำนานแล้ว
ศิลาจารึกก็เป็นงานเขียนที่บันทึกเหตุการณ์ต่าง
ๆ
ไว้บนแผ่นหินทำให้คนไทยและคนทั่วโลกปัจจุบันสามารถรับรู้เรื่องราวในอดีตได้เป็นอย่างดี
ศิลาจารึกที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายก็คือ
ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง
และของกษัตริย์พระองค์อื่นในยุค
สุโขทัย
นอกจากนี้ศิลาจารึกยังมีปรากฏอยู่ทั่วไปในอาณาจักรอู่ทอง
และอยุธยา
ทั้งที่เป็นงานที่พระมหากษัตริย์มีพระราชดำริให้ทำขึ้นและเป็นงานของสามัญชนที่ประสงค์จะบันทึกเหตุการณ์
เรื่องราว
และความรู้ในสาขาต่าง ๆ
ด้วย (8)
ต่อมาในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ภายหลังที่มีการพิมพ์ภาษาไทยได้แล้ว
ผลงานการศึกษาในเรื่องการดำรงชีวิตและขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมทั้งของคนไทยเรา
และชนกลุ่มต่าง ๆ
ในแถบสุวรรณภูมิก็เกิดมีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อีกทั้งมีการนำเอาระเบียบวิธีการศึกษาเชิงมานุษยวิทยาของชาวตะวันตกมาใช้เป็นแนวทางในการศึกษาเป็นครั้งแรก
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในงานของศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธน
หรือที่รู้จักกันในนามเสถียรโกเศศ
ซึ่งท่านได้เขียนหนังสือทางด้านมานุษยวิทยาไว้มากมาย
(โปรดดูรายละเอียดในบทที่
15)
ส่วนงานเขียนเรื่องราวของชนต่างชาติที่ได้รับความสนใจแพร่หลายที่สุด
ก็คือ
พระราชนิพนธ์ไกลบ้าน
ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ซึ่งทรงนิพนธ์ขึ้นเมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรปในระหว่างปี
พ.ศ.2449 - 2450
ที่พระองค์ท่านทรงเขียนเป็นพระราชหัตถ์เลขาถึงสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
เจ้าฟ้าหญิงนิภานภดล (สมเด็จหญิงน้อย)
จำนวน 43 ฉบับ
พระองค์ท่านนอกจากจะดำรัสเล่าความทุกข์สุขส่วนพระองค์ในการที่เสด็จไปครั้งนั้นแล้ว
ยังทรงพรรณาการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนและขนบธรรมเนียมประเพนีของประเทศต่าง
ๆ
ในยุโรปอย่างละเอียดอีกด้วย
ดังนั้น จึง
|