ต่อมา
เมื่อน้องสาวคลอดลูกเป็นฟัก
และมีเทวดาองค์หนึ่งเสด็จลงมาผ่าลูกฟักพร้อมกับรับสั่งว่า
ให้โยนเมล็ดฟักลงบนพื้นราบข้างล่าง
ส่วนเนื้อฟักให้โยนขึ้นไปบนดอย
แต่พี่ชายผู้เป็นสามีเกิดจำคำสั่งไขว้เขวไป
คือได้ขว้างเนื้อฟักลง
บนพื้นราบข้างล่าง
ต่อมาได้กลายเป็นผู้คนทำมาหากินในที่ราบ
ส่วนเมล็ดฟักได้โยนขึ้นไปบนดอยและกลายเป็นชาวเย้า
และชาวเขาเผ่าต่าง ๆ
ที่ทำมาหากินอยู่บนดอย...(1)
อนึ่ง
นิทานชาวบ้านของชนกลุ่มต่าง
ๆ มากกว่า 65
กลุ่มที่อาศัยอยู่ในบริเวณเขตสุวรรณภูมิเช่นเดียวกับกลุ่มชนเผ่าไทยของเรานี้ก็จะมีการกล่าวถึงเรื่องราวเกี่ยวกับการกำเนิดของชนเผ่าของตนที่น่าสนใจดังเช่นของชาวเขาเผ่าเย้านี้เช่นกัน(2)
ต่อมาเมื่อคนตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนเป็นปึกแผ่นก็มีการจดบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมของตนเอง
และความสัมพันธ์กับชนต่างกลุ่มในรูปของตำนาน
สารคดี และพงศาวดาร(3)
ในกรณีของตำนานนั้นเป็นข้อเขียนที่เกิดมีขึ้นมาช้านาน
เท่าที่ค้นพบตำนานซึ่งเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับชนแต่ละกลุ่มของไทยเรา
ได้แก่ ตำนานสุวรรณโคมคำ
ตำนานสิงหนวัติกุมาร
และตำนานเมืองเงินยางเชียงแสน
ซึ่งเป็นเรื่องราวประวัติศาสตร์ล้านนาโบราณ(4)
ในยุคเริ่มก่อตั้งชุมชนเจ้านคร
โดยได้กล่าวถึงความสำคัญของลุ่มน้ำแม่กกว่าเป็นแหล่งกำเนิดแห่งแรกของอารยธรรมล้านนา
ชุมชน
เจ้านครเหล่านี้ได้พัฒนาจากชุมชนเครือญาติในบริเวณนั้น
ซึ่งผู้คนสามารถควบคุมน้ำเพื่อการเกษตรแบบนาดำจนสามารถผลิตอาหารได้มากเพียงพอที่จะส่งมอบให้ชนชั้นปกครองในรูปของภาษีอากรเพื่อให้ชนชั้นสูงอยู่ได้ไม่ต้องผูกพันกับการประกอบอาชีพทางการเกษตร
ดังนั้น
จึงเกิดเป็นเมืองขึ้น
อนึ่ง
ข้อมูลจากตำนานดังกล่าวบ่งบอกว่าความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนามีขึ้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่
13 มาแล้ว (5)
ดร.อานันท์
กาญจนพันธุ์
นักมานุษยวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับตำนานอย่างละเอียด
และกล่าวว่าตำนานได้ให้ภาพความรู้ทางประวัติศาสตร์พื้นเมืองของไทย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำนานพระยาเจือง
(มีชีวิตอยู่ในช่วง พ.ศ. 1625 - 1705)
ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่
ตำนานเมืองเงินยางเชียงแสน
และตำนานจามเทวีวงศ์
งานเหล่านี้เขียนขึ้นเป็นภาษาบาลี
ยกเว้นตำนานมูลศาสนาที่เขียนขึ้นเป็นภาษาไทยเหนือ
(ไทยยวน) อนึ่ง
ตำนานเหล่านี้จะเขียนลงบนใบลาน
หรือเรียกว่า คำภีร์ใบลาน
และสมุดข่อยหรือเรียกว่าคำภีร์สมุดข่อย
ซึ่ง
|