ภาคผนวก วิธีวิทยาการวิจัยเชิงมานุษยวิทยา>> หน้า 22

 

                        -                Participant - construct instruments เป็นแบบสำรวจที่สร้างขึ้นเพื่อตรวจสอบ "ความสอดคล้อง" กันและกันในเรื่องค่านิยมและความรู้สึกของคนทั้งสังคม/ทั้งกลุ่ม โดยสร้างแบบสำรวจตามแนวทรรศนะของผู้ถูกศึกษา

                        -                Projective devices เป็นการนำสิ่งเร้า เช่น การละเล่น ภาพถ่าย และภาพวาดไปให้ผู้ถูกศึกษาดูแล้วเฝ้าสังเกตดูปฏิกริยาโต้ตอบหรือการแสดงความคิดเห็นต่อสิ่งเร้านั้น ๆ 

                ส่วน Noninteractive methods มีรายละเอียดดังนี้

                ก.                nonparticipant observation ผู้วิจัยควรทำการสังเกตผู้ถูกศึกษาโดยที่คนเหล่านั้นไม่รู้ตัว เช่น มองผ่านกระจกที่เห็นจากภายนอกด้านเดียว หรือใช้กล้องที่ซ่อนไว้จับภาพ จะทำให้ผู้วิจัยสามารถสังเกตพฤติกรรมทางสังคมและบันทึกการปะทะสังสรรค์ทางสังคมอีกมุมหนึ่ง รูปแบบของการสังเกตด้วยวิธีนี้มีด้วยกัน 3 แบบคือ

                        -                Stream-of-behavior chronicles สังเกตจากเทปบันทึกภาพถ่ายภาพยนต์หรือเทปบันทึกเสียง หรือการบันทึกข้อเขียนของสถานการณ์ที่มีลำดับต่อเนื่องกันไปตลอดช่วงเวลาหนึ่งเพื่อเรียนรู้ว่าผู้ถูกศึกษามีพฤติกรรมต่อเนื่องกันอย่างไร

                        -                Proxemic and kenetics ลำดับเรื่องในการศึกษาที่มอง (1) การใช้ช่องว่างทางสังคมของผู้ถูกศึกษา และ (2) การเคลื่อนไหวทางสังคมของพวกเขา วิธีการทั้งสองนี้จะทำให้ผู้วิจัยทำการสังเกตและสามารถจดบันทึกการใช้ช่องว่างทางสังคมและการเคลื่อนไหวทางสังคมของผู้ถูกศึกษา

                                -                Interaction analysis protocols เป็นการนำวิธีการสังเกตแบบไม่เป็นทางการมาร่วมใช้ด้วย โดยสังเกตความถี่ทางสังคมมิติของผู้ถูกศึกษาที่มีต่อกันในระหว่างการปะทะสัง สรรค์ในช่วงเวลาหนึ่ง วิธีการนี้จะเป็นการยกระดับมาตรฐานของเทคนิคการสังเกตให้ดีขึ้นเพราะจะทำให้สามารถวิเคราะห์คำพูดและท่าทางของประชากรที่ถูกศึกษาในขณะที่มีการปะทะสังสรรค์