ภาคผนวก วิธีวิทยาการวิจัยเชิงมานุษยวิทยา>> หน้า 21

 

                ง.                Contextualization ผู้วิจัยจะต้องมองปรากฏการณ์ตามบริบทหรือภายใต้สภาวะแวดล้อมของสังคม/กลุ่มที่กำลังศึกษา ข้อมูลที่ได้รับจะเป็นตัวแทนของสภาพที่เป็นจริงมิใช่ได้รับการปรุงแต่ง

                อย่างไรก็ดี Pophams ก็ได้ย้ำถึงทรรศนะของเขาว่า ในการปรับใช้วิธีวิทยาเชิงมานุษยวิทยานั้น ไม่ควรอิงเทคนิคการเก็บข้อมูลเชิงมานุษยวิทยาทุกอย่างทุกประการแต่เพียงอย่างเดียว ควรนำเทคนิคอื่นเข้าผสมด้วยเพื่อให้การวิจัยได้รับผลสำเร็จสุงสุด Pophams ได้อ้างการใช้เทคนิคการเก็บข้อมูลของ M.D.LeCompte และ J.P.Goetz ที่มีทั้ง Interactive methods และ Noninteractive methods 

                Interactive methods มีรายละเอียดดังนี้

 

                ก.                Participant observation ผู้วิจัยควรอาศัยอยู่ร่วม/ทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน พร้อม ๆ กับจดบันทึกข้อมูลในด้านการปะทะสังสรรค์ (social interaction) และกิจกรรมของคนในกลุ่มที่ถูกศึกษา

                ข.    Key informant interviewing ควรสัมภาษณ์ผู้รอบรู้หลัก ผู้ซึ่งเป็นคนที่รู้เรื่องราวในหัวข้อที่ทำวิจัยเป็นอย่างดีเพื่อจะได้เป็นข้อมูลใช้ในการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับจากการสังเกต อีกทั้งเป็นการเสริมข้อมูลที่ไม่สามารถหาได้จากการสังเกต

                ค.                Career histories ควรทำประวัติชีวิตของตัวอย่างบางราย ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติชีวิตและการทำงานรายบุคคลนี้ จะทำให้ผู้วิจัยทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ถึงการตอบสนองของบุคคลที่สัมภาษณ์ต่อสถานการณ์ทางสังคมตามบริบทและนวตกรรมที่เกิดขึ้นในสังคมนั้น ๆ

                ง.                Surveys ผู้วิจัยควรทำการสำรวจข้อมูลตามแบบสอบถาม ซึ่งเป็นแบบสอบถามที่เขียนขึ้นบนพื้นฐานของข้อสังเกตและการสัมภาษณ์ที่ไม่เป็นทางการมาก่อน การสำรวจนี้มีรูปแบบ 3 แบบดังนี้

                                -                Confirmation surveys เป็นแบบสำรวจที่ใช้พิสูจน์หรืออธิบายความถูกต้องของข้อมูลที่ได้รับจากผู้รู้หลัก และข้อมูลประเภทต่าง ๆ ที่เก็บได้