W. James Pophams11
ได้อธิบายเกี่ยวกับกลุ่มการวิจัยเชิงคุณภาพว่าเป็นกลุ่มที่มองเห็นข้อบกพร่องของการวิจัยแบบทดลองเชิงวิทยาศาสตร์
(scientific inquiry)
และได้ยกตัวอย่างนักการศึกษาชื่อ
Robert F.Stake
ผู้ซึ่งเคยนิยมการวิจัยแบบทดลองเชิงวิทยาศาสตร์มาก่อน
แต่ได้หันมาใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยเหตุผลที่ว่า
การประเมินผลการศึกษาน่าจะมองในรูปของการตอบสนองต่อกระบวนการเรียนการสอนมากกว่าที่จะมองว่ากระบวนการนั้นบรรลุเป้าประสงค์ด้วยการวัดด้วยตัวเลขเพื่อทำเป็นรายงานแล้วเก็บไว้บนหิ้ง
ดังนั้น
การประเมินผลการศึกษาควรได้รับการศึกษาเป็นรายกรณี
ทำการบันทึกเป็นเทปวีดีโอ
หรือเป็นงานที่ผู้เรียนได้คิดประดิษฐ์ขึ้น
ส่วนวิธีวิทยาเชิงชาติพันธุ์วิทยา
(Ethnographic approach) นั้น
เป็นการขอยืมวิธีวิทยาเชิงมานุษยวิทยามาใช้
ซึ่งนักการศึกษาบางคนได้ย้ำว่า
หากจะนำวิธีวิทยาการวิจัยของนักมานุษยวิทยามาใช้ก็ควรที่จะได้ศึกษาปรัชญา
และหลักการสำคัญของสาขามานุษยวิทยาให้เข้าใจก่อนที่จะนำวิธีวิทยานี้ไปใช้
ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อจะทำการวิจัยให้ได้รับผลสำเร็จสูงสุด
Pophams ได้อ้างข้อเสนอของ D.M. Fetterman
ผู้ซึ่งได้เน้นการนำเอาหลักการและคุณค่าของการศึกษาทางมานุษยวิทยามาใช้ในการวิเคราะห์สาขาครุศาสตร์
และได้ยึดแนวดังนี้
ก.
Phenomenology
นักวิจัยจะต้องมองภาพเหตุการณ์/ปรากฏการณ์ตามสายตาของผู้ถูกศึกษา
ข.
Holism นักวิจัยจะต้อง (1)
มองภาพรวมมากกว่าจะแยกศึกษารายละเอียดในแต่ละเรื่องและ
(2)
พยายามมองหาความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยต่าง
ๆ
ภายในกลุ่มที่ศึกษาเมื่อต้องการวิเคราะห์
ค.
Nonjudgementalism ผู้วิจัยควร (1)
หลีกเลี่ยงการตัดสินว่าสังคมหรือกลุ่มที่
กำลังศึกษาอยู่นั้นถูกต้องหรือผิดโดยใช้ค่านิยมของผู้วิจัยกำหนด
และ (2) หลีกเลี่ยงการใช้อคติ
ทั้งนี้เพื่อจะได้สังเกตเหตุการณ์อย่างต่อเนื่องและเป็นจริง
|