วิธีวิทยาการวิจัยเชิงมานุษยวิทยากับการศึกษาในสาขาครุศาสตร์
ในตอนต้นของบทความนี้ได้กล่าวถึงปรัชญา
คุณค่า
เนื้อหาและวิธีวิทยาของการศึกษาสาขามานุษยวิทยามาพอสังเขป
สาขาวิชานี้ได้รับความสนใจจากนักการศึกษาเสมอมา
และได้มีความพยายามที่จะใช้วิธีวิทยาแนวนี้ไปวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางการศึกษาของสังคมต่าง
ๆ โดย เฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ
รุธ เบเนดิคท์ และมาร์กาเรต
มีด
ได้เสนอผลงานในเรื่องกระบวนการขัดเกลาทางสังคมของชนเผ่าดั้งเดิมและยังผลให้ชนเหล่านั้นมีบุคลิกภาพที่มีเอกลักษณ์เฉพาะนั้น
นักการศึกษาต่างกระตือรือร้นที่จะนำวิธีการเชิงมานุษยวิทยามาใช้วิเคราะห์การศึกษา
เช่น
การศึกษาสังคมของชนกลุ่มน้อยที่จะต้องเรียนรู้ในระบบการศึกษาของรัฐบาลกลาง
เพื่อจะดูว่าคนเหล่านั้นสามารถปรับตัวเข้ากับระบบการให้การศึกษาแบบใหม่ได้มากน้อยแค่ไหน
และดูว่ามีความคล้ายคลึง
หรือความแตกต่างในกระบวนการขัดเกลาทางสังคมตามประเพณีวัฒนธรรมพื้นเมืองอย่างไร
ความสนใจในเรื่องขบวนการขัดเกลาทางสังคม
(หรือสังคมประกฤต
หรือสังคมกรณ์)
เป็นหัวข้อหลักที่นักการศึกษาใช้เป็นความรู้ด้านพื้นฐานการศึกษาหรือสารัตถศึกษาสาขาสังคม
(social foundation of education)
โดยเน้นถึงกระบวนการเรียนรู้ของสมาชิกสังคมรุ่นเยาว์
ภายใต้กรอบวัฒนธรรมทางด้านครอบครัว
เศรษฐกิจ การเมือง และสังคม
อันเป็นการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมเพื่อให้เยาวชนเหล่านั้นเรียนรู้กฎเกณฑ์ทางสังคมและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
นั่นหมายความว่า
สถานศึกษาได้ใช้ประโยชน์จากกระบวนการขัดเกลาทางสังคมด้วยการสร้าง
"ประสบการณ์"
การเรียนรู้เพื่อบรรลุผลในการสร้างสมาชิกสังคมให้อยู่ในกรอบขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม
ในแง่ของวิธีวิทยาการวิจัยเชิงมานุษยวิทยานั้น
นักการศึกษาบางกลุ่มได้พยายามนำหลักและจุดเด่นของวิธีวิทยานี้ไปใช้ในการวิเคราะห์และการประเมินผลการศึกษา
โดยได้ตั้งชื่อว่า Ethnographic Approach
ซึ่งจัดให้อยู่ในกลุ่ม
Naturalistic Model
หรือเรียกกันทั่วไปว่า
การวิจัยเชิงคุณภาพ
|