แผนที่แสดงที่สาธารณะ
หนองน้ำ/แหล่งน้ำ ที่นา
ที่สวน
ตลอดจนสภาพทางกายภาพอื่น ๆ
เช่น ที่ดอน ที่ราบลุ่ม
ก็ควรจะมีปรากฏในรายงานการวิจัยด้วย
แผนที่มีความสำคัญที่จะทำให้ผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจสภาพของชุมชนได้ง่าย
อนึ่ง ควรเขียนแผนภาพ (diagram)
อื่น ๆ เช่น สังคมมิติ
(sociogram)
แผนภาพของครอบครัวและวงค์วาน
(genealogical chart)
อันจะทำให้สามารถมองเห็นภาพความสัมพันธ์ของคนในชุมชน/กลุ่มที่ศึกษาได้ง่ายขึ้น
(3)
นักมานุษยวิทยาจำเป็นต้องเก็บข้อมูลเชิงปริมาณในส่วนที่จะช่วยให้เกิดความเข้าใจ
ที่ชัดเจน เช่น
ข้อมูลเกี่ยวกับประชากร-สำมะโนประชากร
อายุ จำนวนคู่สมรส
จำนวนคนที่หย่า ฯลฯ
ข้อมูลเชิงเศรษฐกิจ-รายได้รายจ่าย
ขนาดที่ดินถือครอง
ความเป็นเจ้าของ
จำนวนองค์การหรือสถาบันที่มีอยู่ในสังคม
ข้อมูลเหล่านี้เก็บได้จากครัวเรือนในสังคมที่ศึกษา
ในบางกรณี
ควรมีการเลือกตัวอย่าง (sampling)
เพื่อทำการศึกษาหรือเฝ้าสังเกตหาข้อมูลอย่างใกล้ชิด
เช่น
เมื่อต้องการศึกษาเรื่องการใช้แรงงาน
อาจเลือกตัวอย่างราว 10-20
ครัวเรือนเพื่อให้สามารถทำการสังเกตและจดบันทึกการใช้แรงงานของสมาชิกทุกคนในครัวเรือนอย่างละเอียดได้ตลอดทั้งปี
ด้วยเหตุนี้นักมานุษยวิทยาจะต้องศึกษาระเบียบวิธีการเลือกตัวอย่างเป็นอย่างดีด้วย7
(4)
ระบบการเก็บข้อมูลมีความสำคัญยิ่ง
นักมานุษยวิทยาจะต้องจัดเตรียมแบบรายการหรือแบบสัมภาษณ์ที่ไม่เป็นทางการ
(schedules or guideline) ไว้เป็นชุด ๆ
เพื่อใช้ศึกษาแต่ละหัวข้อตลอดช่วงเวลาที่ทำการเก็บข้อมูลในสนาม
ในแต่ละเรื่องแต่ละหัวข้อ
เช่น กิจกรรมทางการผลิต
อาจมีแบบรายการหลายชุดเพื่อเก็บข้อมูลแต่ละช่วงตลอดการเพราะปลูกให้ได้ครบ
ถ้วน
บางแบบรายการอาจใช้กรอกข้อมูลในระหว่างสอบถามได้เลย แต่ต้องติดตามตรวจสอบถึงความไว้ใจได้ของข้อมูลนั้นเสมอ
ทั้งนี้เพราะการตอบคำถามเกี่ยวกับเศรษฐกิจภายในระยะเวลาอันสั้นอาจจะไม่ได้ข้อมูลที่เป็นจริง
ทั้งนี้
อาจเนื่องมาจากเหตุผลที่ว่าผู้ตอบตอบไม่ตรงกับความเป็นจริง
หรือมีเวลาให้ตอบสั้นเกินไป
หรืออาจมีองค์ประกอบอื่นสอดแทรก
ทำให้คำตอบเหล่านั้นไม่สมบูรณ์ก็ได้
|