เทคนิคในการเก็บข้อมูล
นักมานุษยวิทยามีเทคนิคในการเก็บข้อมูล
ซึ่งอาจจำแนกออกเป็นข้อ ๆ
ดังนี้
(1)
การสังเกตจะต้องสังเกตพฤติกรรมที่แท้จริงว่าคนในสังคมนั้น
ประพฤติปฏิบัติต่อกันอย่างไรและการแสดงพฤติกรรมแต่ละประเภทนั้นมีความหมายที่แท้จริงอย่างไร
เช่น การร้องเพลง
อาจมิได้หมายถึงการแสดงความเพลิดเพลินหรรษาเท่านั้น
ในบางกรณีอาจบ่งบอกถึงสภาพที่แห้งแล้ง
ฝนฟ้าไม่ตกตามฤดูกาล
หรือเป็นการบรรยายถึงความคับแค้นใจ
เป็นต้น ดังนั้น
ในขณะที่ทำการวิจัยในสนาม (fieldwork)
หากนักมานุษยวิทยาพบเห็นสิ่งใด
จะพยายามสืบหาประวัติ
ความหมายและสัญลักษณ์ที่สิ่งนั้นแทนค่า
รวมทั้งพยายามดูว่าสิ่งนั้น
ๆ มีหน้าที่ประโยชน์ (function)อย่างไรต่อการอยู่ร่วมกันในสังคม
เช่นคำพูดที่ว่าพูดไปสองไพเบี้ย
นิ่งเสียตำลึงทอง
เป็นคำพังเพยที่แสดงถึงค่านิยมประเภทหนึ่งของสังคม
โดยเป็นการสอนให้คนมิให้โอ้อวด
และยกตนข่มท่าน
เพราะการนิ่งเงียบจะก่อให้เกิดผลดีมากกว่า
ในขณะเดียวกัน
นักวิจัยจะต้องแสวงหาความหมายของคำว่าเบี้ยและตำลึงว่าเป็นอย่างไร
มีค่าเท่าใดและใช้ในยุคไหน
เพื่อจะได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ด้านการใช้เงินตราของสังคมไทยโบราณด้วยอันจะเป็นการเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับสังคมนั้นได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น6
ความหมายของคำว่าเบี้ยและตำลึงอาจหาได้จากตำราประวัติศาสตร์ที่มีอยู่ตามห้องสมุด
นั่นหมายความว่า
ข้อมูลบางอย่างไม่จำเป็นต้องเก็บจากสนามที่ไปศึกษาเท่านั้น
เพราะอาจต้องค้นหาจากแหล่งอื่นที่อยู่นอกสนาม/สังคมที่กำลังศึกษาอยู่
หรืออาจสอบถามจากผู้รู้ที่อาศัยอยู่ภายนอกสังคมนั้น
ๆ ก็ได้
(2)
นักมานุษยวิทยาควรทำแผนที่ของชุมชนที่ไปศึกษา
เพื่อแสดงตำแหน่งของบ้านแต่ละหลัง
โรงเรียน วัดหรือเทวสถาน
บ้านของผู้นำชุมชน ตลาด
และจุดที่ชาวบ้านมักมาชุมนุมหรือมารวมกัน
พบปะสังสรรค์พูดคุย เช่น
ร้านค้า ลานหมู่บ้าน ฯลฯ
นอกจากนี้ ถนนในหมู่บ้าน
และถนนหลวงเชื่อมต่อไปยังชุมชนหลักอื่น
ๆ ในระดับตำบล อำเภอ
จังหวัด
รวมทั้งระยะทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง
อันจะก่อให้เกิดความเข้าใจถึงความห่างของชุมชนกับชุมชนอื่น
ๆ
|