(6)
ผู้วิจัยควรเรียนรู้ภาษาถิ่นของประชากรที่ไปศึกษา
ศัพท์
วลีและคำแสลงที่เขาพูดกันควรทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ภายใต้บริบทของพวกเขา
ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการทำความเข้าใจชนที่ไปศึกษาอย่างถ่องแท้
(7)
การศึกษาเชิงมานุษยวิทยาเป็นการศึกษาเฉพาะรายเฉพาะกรณี
(case study)
ที่มองภาพในความลุ่มลึกของสังคม/กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
ดังนั้นผู้วิจัยจะต้องระมัดระวังในการสรุปผลและใช้อธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมที่คล้ายคลึงกันของสังคมอื่น
ผลการศึกษาจะต้องเน้นว่าเป็นการศึกษาจากกรณีรายนั้น
ๆ
มากกว่าจะอ้างเป็นกฎสากลที่จะอธิบายสังคมอื่นได้ทุกแห่ง
อย่างไรก็ตาม
นักมานุษยวิทยามิใช่จะเข้าไปศึกษาชน/ชุมชนโดยปราศจากกรอบการศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์
ดังที่กล่าวแล้วในหัวข้อก่อนหน้านี้เสียเลยทีเดียว
โดยทั่วไปแล้ว
เนื้อหาขององค์ความรู้ในสาขาวิชานี้จะกล่าวถึงแนวคิดทฤษฎีทางสังคมและวัฒนธรรมที่ผู้รู้ได้เขียนขึ้น
และมีตัวอย่างการศึกษาวิจัยวัฒนธรรมและสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง
ๆ
ที่มีผู้เคยออกไปศึกษามากมายทั่วทุกมุมโลก
ตลอดจน
ข้อถกเถียงในเรื่องการใช้เทคนิคแต่ละประเภทในการเก็บข้อมูลด้านสังคมและวัฒนธรรมทุกแง่
ดังนั้น
นักวิจัยในสาขานี้จะต้องศึกษาวิธีวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์
(scientific method)
ดังเช่นนักสังคมศาสตร์สาขาอื่นเรียนกัน
จะต้องศึกษาทฤษฎีและแนวความคิดทางสังคมวัฒนธรรมที่มีปรากฏอยู่
จะต้องศึกษารายละเอียดในรายงานการวิจัยเรื่องชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มแต่ละเผ่าและทำการเปรียบเทียบ
และจะต้องตั้งสมมติฐานสำหรับที่จะใช้ในการศึกษาของตนเองก่อนที่จะลงมือทำการศึกษา
แต่เมื่อออกไปเก็บข้อมูลในสนาม
ผู้วิจัยไม่ควรจะยึดติดอยู่กับกรอบเหล่านี้มากจนเกินไปจนไม่สามารถมองเห็นภาพปรากฏการณ์ทางสังคมที่เป็นจริงได้
นักวิจัยควรเปิดหูเปิดตาให้กว้างเพื่อเสาะแสวงหาข้อมูลที่เกิดขึ้นจริง
ข้อมูลดังกล่าวอาจจะแปลกแตกต่างจากข้อมูลที่ผู้อื่นเก็บได้อย่างสิ้นเชิง
ซึ่งอาจนำไปสู่ข้อสรุปและตั้งเป็นทฤษฎีใหม่ที่น่าสนใจยิ่งก็ได้
|