การเฝ้าสังเกตอย่างจริงจัง
หรือแบบเข้ม (intensive observation)
จะต้องมีแบบรายการ (schedules)
ว่าจะสังเกตอะไรในแต่ละเรื่อง/แต่ละช่วงเวลา
จะทำการสัมภาษณ์ (interview) ผู้ใด
(informants) ในเรื่องไหน
ควรมีการตรวจสอบข้อมูลเป็นระยะ
ๆ (periodical checks)
เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นในข้อมูลที่ได้รับ
อีกทั้งควรศึกษาข้อมูลที่มีปรากฏเด่นชัด
(materials) ในชุมชน เช่น ข้อเขียน (บนใบลาน
หรือศิลา) ภาพวาด หน้ากาก
เครื่องเซ่น ผ้ายันต์
รอยสักตาม ร่างกาย ฯลฯ
เพื่อดูว่ามีความเกี่ยวพันในแง่การแทนค่าหรือเป็นสัญลักษณ์
(symbol)
และสัมพันธ์กับหัวข้อที่ศึกษาอย่างไรในทุก
ๆ ด้าน
ทุกครั้งที่ทำการสังเกตจะต้องจดบันทึก
(fieldnote) หรือบันทึกเสียง และ/หรือถ่ายภาพอย่างละเอียดทุกขั้นตอน
อย่างไรก็ตาม
การจดบันทึกไม่ควรกระทำต่อหน้าผู้ถูกศึกษา
เพราะอาจจะก่อให้เกิดความระแวงสงสัยขึ้นได้
นักมานุษยวิทยามักใช้วิธีชวนคุยเรื่องทั่ว
ๆ
ไปก่อนแล้ววกมายังประเด็นที่กำลังศึกษา
จากนั้นก็แอบไปจดบันทึกภายหลัง
กล่าวโดยสรุป
จุดเด่นของวิธีวิทยาการวิจัยเชิงมานุษยวิทยาอาจจำแนกออกเป็นข้อ
ๆ ได้ดังต่อไปนี้
(1)
การมองพฤติกรรมและวัฒนธรรมของมนุษย์ในภาพรวม
(holistic approach) โดยมองหาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมในทุกแง่
(2)
ใช้วิธีการออกไปอาศัยอยู่และร่วมกิจกรรมกับประชากรที่ศึกษาเป็นระยะเวลานานพอเพื่อทำความรู้จักและคุ้นเคยกับสภาพตามบริบทของสังคมนั้น
ๆ เป็นอย่างดี
ตามปกติแล้วจะอาศัยอยู่ร่วมเป็นเวลา
1 ปี
(3)
ใช้เทคนิค "การสังเกตแบบมีส่วนร่วม"
(participant observation)
โดยทำตัวให้เข้ากับประชากรที่ศึกษาพร้อม
ๆ
กับทำการสังเกตเพื่อเก็บข้อมูลไปด้วย
(4)
ใช้กรอบการอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมของประชากรที่ไปศึกษา
(emic) มิใช่นำกรอบ/ทฤษฎีและค่านิยมของผู้วิจัยหรือวัฒนธรรมจากภายนอก
(etic)
ไปใช้เป็นเครื่องมือศึกษา
(5)
เน้นการค้นหาข้อมูล
และอธิบายปรากฏการณ์/ความสัมพันธ์/วัฒนธรรมของชนที่ไปศึกษาในเชิงพรรณนาหรือเชิงคุณภาพ
(qualitative data)
ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลจะเป็นการหาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง
ๆ
ตามหลักเหตุและผลด้วยการอธิบายแบบคุณภาพ
(qualitative analysis)
มากกว่าการใช้ข้อมูลเชิงปริมาณเป็นหลัก
อย่างไรก็ดี
หลักเหตุและผลดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามกรอบแนวคิดของประชากรที่ถูกศึกษา
สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณก็ยังคงมีคุณค่าเช่นกัน
โดยนักมานุษยวิทยาจะต้องใช้วิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลเชิงคุณภาพ
|