จุดเด่นของวิธีวิทยาเชิงมานุษยวิทยา
การศึกษาสาขามานุษยวิทยาสังคม
(Social Anthropology)
เป็นการศึกษาเรื่องระบบหรือกลุ่มความสัมพันธ์ของคนในสังคม
(a set of social relations)3
โดยมุ่งประเด็นศึกษาไปที่แบบแผนของความสัมพันธ์ของคนที่มีต่อกันและกันตามรูปแบบและรูปลักษณ์ของกลุ่มความสัมพันธ์
(หรือที่เรียกกันว่าสถาบันทางสังคม
ซึ่งมีอยู่ 6
ประเภทดังที่กล่าวไปแล้วในหัวข้อก่อนหน้านี้)
กลุ่มความสัมพันธ์นี้เกิดขึ้นจากการที่แต่ละคนแสดงพฤติกรรมตามสถานภาพที่เขาดำรงอยู่ในสังคม
และแสดงบทบาทไปตามความคาดหวังของคนอื่นที่อยู่ในสังคม
เช่น
ผู้เป็นครูหรือมีสถานภาพเป็นครู
ก็จะต้องแสดงบทบาทในการอบรมสั่งสอน
มิใช่แสดงบทบาทเป็นนักเลงหัวไม้ไล่ทุบตีชาวบ้าน
ดังนั้น
บทบาทความเป็นครูจะเป็นพฤติกรรมที่ทุกคนในสังคมคาดหวังว่าครูต้องกระทำสิ่งนั้นสิ่งนี้เท่านั้น
อนึ่ง ในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ
คนแต่ละคนจะดำรงสถานภาพหลายตำแหน่งและจะแสดงบทบาทหลายบทบาทสอดคล้องกันไป
ซึ่งจะเป็นตาข่ายของความสัมพันธ์กลายเป็นสถาบันและโครงสร้างทางสังคมขึ้น
โครงสร้างของสังคมแต่ละสังคมจะมีรูปแบบและลักษณะเฉพาะของแต่ละสังคม
การศึกษาสาขามานุษยวิทยาวัฒนธรรม
(Cultural Anthropology)
เน้นศึกษาลักษณะรวมของกิจกรรมของมนุษย์ทั้งหมด
ประกอบด้วยความรู้
ความเชื่อ ศิลปะ จริยธรรม
กฎหมาย
ความรู้ความสามารถทุกสาขา
และอุปนิสัยใจคอซึ่งสมาชิกในสังคมหนึ่งได้รับมาในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคม4
ดังนั้น
วัฒนธรรมก็คือพฤติกรรมรวมทุกแง่ของคนในสังคมที่ได้รับมาจากการเรียนรู้
(complex whole or configuration of learned behavior)
ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์
มิใช่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ
และสร้างขึ้นไว้เพื่อตอบสนองต่อการดำรงชีวิตร่วมกันในสังคม
เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ในสังคมยอมรับนับถือและปฏิบัติตาม
รวมทั้งมีการสะสมและถ่ายทอดวัฒนธรรมนั้น
ๆ ต่อไปยังลูกหลาน
ดังนั้น
การที่จะวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของคนและศึกษาวัฒนธรรมได้เต็มรูป
จึงจำเป็นต้องจำกัดขนาดประชากรที่จะศึกษา
คือเป็นสังคมขนาดเล็กราว
80-100 ครัวเรือน หรือประมาณ 100-600
คน
จะทำให้ผู้วิจัยสามารถสังเกตพฤติกรรมได้อย่างทั่วถึง
และที่สำคัญที่สุดในวิธีวิทยาสาขานี้
|