วิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่นักสังคมศาสตร์นำไปใช้เป็นเครื่องมือในการหาความรู้นั้น
เป็นหลักการกลาง ๆ
ที่ทุกสาขายึดถือ
เมื่อนักมานุษยวิทยานำหลักการดังกล่าวไปใช้
จำเป็นต้องปรับให้เข้ากับเนื้อหาหรือสิ่งที่ต้องการศึกษา
จึงได้พยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิธีการศึกษา
ตลอดเวลาจนกลายเป็นวิธีวิทยาการวิจัยเชิงมานุษยวิทยาที่มีเอกลักษณ์เฉพาะและโดดเด่นยิ่ง
จากความพยายามในการหาคำตอบเรื่อง
สังคมและวัฒนธรรมของมนุษย์ว่ามีการสร้างหรือก่อตัวขึ้นมาอย่างไร
นักมานุษยวิทยาจำเป็นต้องออกไปค้นหาคำตอบด้วยการไปศึกษาชนที่อยู่ในสังคมดั้งเดิม
หรือสังคมที่สมาชิกยังอยู่ในสภาพเริ่มแรกหรือดั้งเดิมจริง
ๆ (hand-to-mouth)
ที่ยังหลงเหลืออยู่ในคริสต์ศตวรรษที่
20
ทั้งนี้เพื่อจะดูว่ารูปแบบและแบบแผนเบื้องต้นที่มนุษย์สร้างวัฒนธรรมขึ้นตอบสนองความต้องการของตนและสังคมมีลักษณะเป็นอย่างไรในสภาพที่ปราศจากอิทธิพลของวัฒนธรรมที่ได้รับการปรุงแต่ง
ดังเช่นวัฒนธรรมที่เจริญแล้วจากภายนอกเข้าไปผสมผสาน ตัวอย่างเช่น
การเฝ้าสังเกตวัฒนธรรมการรับประทานอาหารของชนดั้งเดิม
พวกเขาอาจใช้มือถือเนื้อย่างกัดกินจนอิ่ม
ในขณะที่การรับประทานอาหารของคนในสังคมยุคใหม่จะใช้ส้อมและมีดหั่นเนื้อออกเป็นชิ้นเล็ก
ๆ บนจาน
จะเห็นได้ว่าเนื้อหา (content)
ของวัฒนธรรมการกินก็คือการสนองตอบต่อความต้องการเพื่อให้ร่างกายดำรงอยู่และเจริญเติบโต
แต่รูปแบบ (form)
ของวัฒนธรรมประเภทเดียวกันจะมีความแตกต่างกันออกไปตามสภาพของสังคมแต่ละสังคม
ดังนั้น
ความพยายามของนักมานุษยวิทยาในยุคต้น
ก็คือ
การออกไปศึกษาชุมชนเล็ก ๆ
ที่ตั้งอยู่โดดเดี่ยวและห่างไกล
เป็นสังคมที่ยังอยู่ในสภาพดั้งเดิมอย่างแท้จริง
เช่น สังคมชาวเกาะ
สังคมคนเถื่อน คนป่า
ชาวเขาที่อาศัยอยู่ในถ้ำ
หรือเร่ร่อน
ทั้งนี้ก็เพื่อจะค้นหารูปแบบพื้นฐานของการสร้างวัฒนธรรมประเภทต่าง
ๆ อันได้แก่
วัฒนธรรมด้านครอบครัวและเครือญาติ
การศึกษาและการอบรมขัดเกลาทางวัฒนธรรม
ความเชื่อและศาสนา
การเมือง
เศรษฐกิจและเทคโนโลยี
และนันทนาการ
ความรู้ที่ได้รับจะนำออกเผยแพร่และนำมาจัดลำดับขั้นของการวิวัฒนาการทางวัฒนธรรม
ตัวอย่างผลงานในยุคแรก ๆ
ได้แก่ Ancient City ของหลุยส์
เฮนรี มอร์แกน (คศ.1877) Primitive Culture
โดยเอ็ดเวอร์ด ไทเลอร์ (คศ.1903)
Golden Bough โดยเจมส์ เฟรเซอร์ (คศ.1890)
และ Ancient Law โดยเฮนรี่ เมน (คศ.1861)
เป็นต้น
|