ความสนใจเรื่องราวในด้านผลงานที่มนุษย์ผลิตขึ้น
ของชนชาติอื่นหรือชนต่างเผ่า
(other cultures)
ที่แปลกแตกต่างจากของเราเองเป็นหัวใจสำคัญของการศึกษาวิชามานุษยวิทยาในช่วงแรกเริ่ม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคอาณานิคมที่ชาวยุโรปเดินทางออกไปสู่ดินแดนต่าง
ๆ
ทั่วโลกและยึดครองดินแดนเหล่านั้นเป็นอาณานิคมเพื่อที่จะส่งคนไปปกครอง
ทำการค้าขาย
และอาศัยอยู่ร่วมกับคนต่างเชื้อชาติ
ต่างเผ่าพันธุ์
ด้วยเหตุนี้
สาขาชาติพันธุ์วิทยา (Ethnology)
จึงเฟื่องฟูในยุคนี้เอง
เหล่านักวิชาการต่างพยายามจัดความรู้ให้เป็นระบบ
มีการตั้งทฤษฎีเพื่อใช้อธิบายลักษณะทางสังคมวัฒนธรรมมากมายต่อมาได้กลายมาเป็นสาขามานุษยวิทยาขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่
20 นี้เอง
ในยุคต้น
ความรู้ที่ได้รับมักมาจากคำบอกเล่าของชนพื้นเมืองเพียง
2-3 คน
หรือจากการสังเกตปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าโดยปราศจากแบบรายการที่มีกฎเกณฑ์
ไม่มีจุดหมายเฉพาะ
และขาดกรอบแนวคิดทางทฤษฎีรองรับ
กล่าวคือ
จะเป็นการบันทึกปรากฏการณ์ที่ได้พบเห็นโดยไม่มีการไตร่ตรอง
และมองซ้ำเพื่อตรวจสอบความถูกต้องแน่นอนของข้อมูล
ในกาลต่อมา
เมื่อการพิสูจน์ความรู้ของนักวิทยาศาสตร์ธรรมชาติได้เจริญรุดหน้าโดยได้สร้างวิธีการศึกษาที่รัดกุมที่เรียกกันว่า
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (scientific
method) ขึ้นมา
นักสังคมศาสตร์ต่างให้ความสนใจที่จะใช้วิธีการนี้ในการศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรม
ได้แก่
พยายามทำการศึกษาที่เป็นระบบ
มีคำจำกัดความที่แน่นอน
มีการเฝ้าสังเกตที่มีจุดหมายเฉพาะ
มีการจำแนกปรากฏการณ์ต่าง
ๆ ออกเป็นหมวดหมู่
จัดระเบียบปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกระจัดกระจายเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์เหล่านั้น
มีการควบคุมสถานการณ์บางอย่างเท่าที่จะทำได้
มีการตั้งและทดสอบสมมติฐาน
ตลอดจนการตั้งทฤษฎีเพื่ออธิบายสมมติฐานต่าง
ๆ
ทั้งนี้โดยมีการวิเคราะห์ต่อเนื่องกันไป
เพื่อติดตามผลว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
มีการติดตามต่อเนื่องจนเป็นการสะสมความรู้ให้เพิ่มพูนเพื่อประสงค์ที่จะตั้งเป็นทฤษฎีขึ้น1
หลักและวิธีการนี้
นักมานุษยวิทยาในฐานะที่เป็นนักสังคมศาสตร์แขนงหนึ่งก็ได้นำมาปรับใช้ในการศึกษาเรื่องคน
สังคมและวัฒนธรรม
และสภาพแวดล้อมอย่างจริงจัง
|