ในอดีตดังที่กล่าวข้างต้นแล้วว่า
บทบาทของนักมานุษยวิทยาที่โดดเด่นที่สุดก็คือ
การทำหน้าที่เป็นเสมือนตัวแทนนำเสนอข้อมูล
(lip-service or cultural broker)
อย่างละเอียดเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมาย
(target groups) ของการพัฒนา เช่น
เสนอข้อมูลของชาวป่า
ชาวเขา ชาวนา
ผู้อาศัยอยู่ในชุมชนแออัด
ชนกลุ่มน้อย ฯลฯ
ซึ่งเป็นกลุ่มที่จะต้องได้รับการพัฒนา
โดยจะอธิบายถึงโครงสร้างทางสังคม
แบบแผนของความสัมพันธ์และพฤติกรรม
ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม
ตลอดจนความคิดความเชื่อและค่านิยมของกลุ่มเป้าหมายเพื่อนำมาใช้เป็นฐานในการทำงานการพัฒนา
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดได้แก่หนังสือชื่อ
การพัฒนาชนบท :
ให้ยึดกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก(9)
เขียนโดยโรเบิร์ด แชมเบอร์แห่งสถาบันการศึกษาด้านการพัฒนามหาวิทยลัยซัสเซก
ประเทศอังกฤษ (Institute of Development Studies,
University of Sussex)
ซึ่งผู้เขียนได้รับความรู้และปริญญาสาขามานุษยวิทยา
นอกจากนี้
มีนักวิชาการชั้นนำที่ทำหน้าที่ตามบทบาทนี้
อาทิเช่น Keith Griffin, Scarlette Epstein, Yujiro Hayami
เป็นต้น
ส่วนในยุคปัจจุบัน
นักมานุษยวิทยาต่างได้เปลี่ยนแปลงบทบาทของตนใหม่มาเป็นผู้ตัดสินใจหรือร่วมในการตัดสินใจในกระบวนการพัฒนาทุกขั้นตอน
อย่างไรก็ตาม
มีผู้กล่าวว่าในบางขั้นตอนของกระบวนการพัฒนานั้น
นักมานุษยวิทยายังไม่ได้แสดงบทบาทเด่นชัดนัก
เช่น ในขั้นตอนการวางแผน
ขั้นตอนการดำเนินงาน
และขั้นตอนการประเมินผล
ดังนั้น
จึงมีการเรียกร้องให้ทำหน้าที่ในขั้นตอนเหล่านี้ให้มากยิ่งขึ้น(10)
ดังมีรายละเอียดดังนี้
(1)
การวางนโยบายการพัฒนา (policy
formation) ทั้งในระดับประเทศ
ภูมิภาคและชนบทหรือส่วนท้องถิ่น
เมื่อนักมานุษยวิทยามีความรู้เรื่องสังคมวัฒนธรรมเป็นอย่างดีแล้ว
จะต้องแสดงบทบาทในเชิงรุก
(active role)
ด้วยการเข้าร่วมในการวางนโยบายและสร้างโครงการการพัฒนา
ด้วยเหตุนี้
จึงจำเป็นต้องแสวงหาความรู้ในเรื่องการวางนโยบาย(11)
เพื่อจะได้นำความรู้ไปใช้ในการวางแผนควบคู่กับความรู้ความถนัดในวิชาชีพที่มีอยู่ในตัวอยู่แล้ว
|