(2)
การดำเนินงานการพัฒนา (policy
implementation)
มีนักมานุษยวิทยาที่มีชื่อเสียงหลายคนที่ให้ความสนใจหลักการบริหาร
(public administration/management)
และนำความรู้มาใช้ในการดำเนินงานเพื่อการพัฒนา
คนกลุ่มนี้พยายามศึกษาระบบการจ่ายแจก
(delivery system)
สิ่งของและบริการจากรัฐบาลหรือจากองค์การการพัฒนาไปให้แก่เป้าหมายว่า
วิธีการใดที่จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงความรู้ระหว่าง
ผู้ให้-วิธีการบริหารงาน-ผู้รับ
อย่างเป็นระบบเพื่อให้การดำเนินงานการพัฒนาได้รับผลสูงสุด(12)
(3)
การประเมินผล (policy evaluation)
นักมานุษยวิทยามีบทบาทสำคัญในการประเมินผลโครงการการพัฒนาว่าได้รับความสำเร็จมากน้อยเพียงใด
และสามารถแนะนำหนทางแก้ไขหากโครงการนั้นประสบกับความล้มเหลวอีกด้วย
ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างกรณีบ่อน้ำซึ่งล้มเหลว
อันเป็นโครงการของรัฐบาลประเทศเปรูได้ลงทุนขุดบ่อน้ำจำนวน
6
บ่อที่หมู่บ้านวีรูเพื่อใช้ในการเพาะปลูกทางการเกษตร
แต่โครงการนี้ล้มเหลว
ดังนั้น
นักมานุษยวิทยาชื่ออัลแลน
โฮล์มเบอร์กจึงได้เข้าไปวิเคราะห์ถึงสาเหตุแห่งความล้มเหลว
ดังรายงานต่อไปนี้
กรณีบ่อน้ำซึ่งล้มเหลว
ประการแรก
ชาวบ้านซึ่งหลายคนมีความรู้เรื่องน้ำใช้ในบริเวณที่ราบ
ไม่ได้รับการปรึกษาหารือจากคณะกรรมการปกครองท้องถิ่นหรือผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค
(นักธรณีวิทยา)
ทั้งยังถูกทอดทิ้งเสียด้วยซ้ำ
ชาวบ้านประเภทดังกล่าวผู้หนึ่งมีความชำนาญมากในการขุดบ่อน้ำในที่ดินของเขาเอง
และมีความรู้เกี่ยวกับสภาพของน้ำในที่ราบ
แต่พวกช่างเทคนิคกลับไม่เห็นความสำคัญ
ยิ่งไปกว่านั้นบุคคลดังกล่าวยังเป็นคนในหมู่บ้าน
มีฐานะดี
มีอำนาจและมีหน้ามีตา
ทั้งยังเคยเป็นสมาชิกสภาเทศบาล
โดยเฉพาะในขณะนั้นเขาเป็นผู้นำอย่างไม่เป็นทางการของหมู่บ้านผู้มีอิทธิพลมากที่สุด
แม้ว่าเขาจะมีความเห็นคัดค้านพรรคการเมืองที่อยู่ในอำนาจขณะนั้น
แต่เขาก็มิได้คัดค้านโครงการสร้างบ่อน้ำ
แต่คัดค้านในแง่ที่เขามิได้รับการปรึกษาในขั้นวางแผน
คณะกรรมการทางเทคนิคและคณะกรรมการบริหารชั่วคราวไม่เห็นความสำคัญของพวกเขา
แต่กลับเห็นว่าเป็นศัตรูทางการเมือง
ผลคือคนกลุ่มนี้จึงไม่ได้ใช้อิทธิพลและเกียรติคุณของพวกเขาสนับสนุนโครงการ
แต่กลับพูดคัดค้านอย่างเปิดเผยว่า
โครงการจะต้องล้มเหลว
|