2.
พฤติกรรมของความเป็นผู้นำ
ในแง่ของพฤติกรรมนั้น
มีการนำความรู้จากการศึกษาพฤติกรรมของสัตว์ในตระกูลไพรเมตไปใช้ในการอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์
เช่น บุคลิกของผู้นำ
พฤติกรรมทางการเมือง
และพฤติกรรมทางเพศ
โดยศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมของจ่าฝูงของลิงกอลิล่ากับบุคลิกของผู้นำในสังคมมนุษย์(6)
3.
มานุษยวิทยาการแพทย์
(Medical Anthropology)
ปัจจุบัน
สาขามานุษยวิทยาการแพทย์ได้รับความสนใจมากที่สุด
ซึ่งมหาวิทยาลัยหลายแห่งในยุโรปและสหรัฐอเมริกา
รวมทั้งมหาวิทยาลัยมหิดลได้เปิดสอนในระดับชั้นปริญญาโทและเอกวิชานี้มีขอบเขตการศึกษากว้างขวาง
โดยนำความรู้สาขามานุษยวิทยากายภาพ
สาขาแพทย์ศาสตร์และสาขามานุษยวิทยาสังคมวัฒนธรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อเรียนรู้ความสัมพันธ์ทางด้านสรีระ
ประเพณี วัฒนธรรม
และการแพทย์พื้นบ้านของคนแต่ละสังคมกับการแพทย์สมัยใหม่
ประเด็นที่นักมานุษยวิทยาการแพทย์ให้ความสนใจศึกษา
ได้แก่
วิธีการรักษาโรคพื้นบ้าน
การฝังเข็ม
วิธีป้องกันโรคพื้นบ้าน
การทำคลอดแบบพื้นบ้าน
ความเชื่อทางด้านการสาธารณสุขและการรักษาพยาบาล
ความเชื่อเรื่องคนทรง ผีปอบ
ผีกะที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรค
ตลอดจนความเชื่อเรื่องการกินอาหารและข้อห้ามในการบริโภคอาหารบางประเภท
นอกจากนี้
ยังให้ความสนใจในเรื่องยาสมุนไพร
และยาพื้นบ้าน
ผู้ที่ศึกษาวิชาแพทย์สมัยใหม่ในโรงเรียนแพทย์ทั่วโลกมักให้ความสนใจในหัวข้อดังกล่าวข้างต้นมากเท่า
ๆ
กับความสนใจศึกษาวิชาแพทย์และสาธารณสุขแผนปัจจุบัน
ในขณะเดียวกันมีนายแพทย์หลายคนที่หันมาศึกษาจนได้รับปริญญาเอกสาขามานุษยวิทยาอีกสาขาหนึ่ง
และต่างได้สร้างผลงานจนมีชื่อเสียงทางด้านมานุษยวิทยาทางการแพทย์มากมาย
ส่วนผู้ที่เรียนมาทางสาขามานุษยวิทยาโดยตรงก็จะให้ความสนใจศึกษามานุษยวิทยากายภาพกับวิชาการแพทย์อย่างลึกซึ้งจนได้รับปริญญาโทและเอกในสาขาวิชามานุษยวิทยาการแพทย(์7)
เมื่อพวกเขาจบการศึกษา
ต่างก็ออกไปทำงานในโรงพยาบาล
สาธารณสุขและสำนักงานอนามัยตามชุมชนและสังคมต่าง
ๆ ทั่วโลก
|