(4)
นักมานุษยวิทยาปฏิบัติการได้เปลี่ยนบทบาทจากการเป็น
"ผู้ให้คำปรึกษา"
ดังเช่นในอดีตที่ซึ่งเคยถือว่านักมานุษยวิทยาเป็นผู้รู้จักปัญหาและสถานการณ์เกี่ยวกับคนและสังคมวัฒนธรรมดีที่สุด
และทำหน้าที่ในการป้อนข้อมูลให้กับผู้บริหารใช้ในการตัดสินใจนั้น
มาเป็น "ผู้ทำหน้าที่ตัดสินใจ"
(decision - makers) ด้วยตัวเอง หรือ "เข้าร่วม"
(participate) ในกิจกรรมการตัดสินใจ
จะเห็นได้ว่า
เป็นการเปลี่ยนบทบาทครั้งสำคัญที่สุดเพื่อให้นักมานุษยวิทยาแสดงบทบาทใหม่จากการเป็นเพียงตัวแทนทางวัฒนธรรม
(cultural broker) มาเป็นผู้บริหาร (administrator)
และผู้กระทำจริง (advocative-actor)(4)
การประยุกต์ใช้สาขามานุษยวิทยากายภาพ
โครงสร้างทางสรีระและพฤติกรรมของมนุษย์เป็นหัวใจสำคัญของการศึกษาสาขาวิชามานุษยวิทยากายภาพ
ซึ่งสามารถที่จะนำไปใช้เป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพประเภทอื่น
ในที่นี้
ขอยกตัวอย่างเพียงบางตัวอย่างดังนี้
1.
การวัดสัดส่วนมนุษย์
(anthropometry)(5)
ในแง่ของโครงสร้างทางสรีระนั้น
มีการวัดสัดส่วนของมนุษย์แต่ละเผ่าพันธุ์เพื่อหาขนาดเฉลี่ยในการตัดเย็บเสื้อผ้า
รองเท้า ม้านั่ง โต๊ะ
จักรยานยนต์ และที่นั่งขับเครื่องบิน
ตลอดจนเครื่องใช้ในบ้านและโรงงานให้เหมาะสมกับขนาดร่างกายของคนในแต่ละสังคม
ในขณะเดียวกัน ประเทศต่าง ๆ
ได้ใช้ความรู้ทางมานุษยวิทยากายภาพศึกษาเกี่ยวกับนิสัย
ความรู้สึก
และทัศนคติของคนเพื่อนำไปใช้ในการสร้างขนาดและสีของเม็ดยา