การนำความรู้วิชามานุษยวิทยาไปใช้ในอาชีพประเภทอื่น
นักมานุษยวิทยาปฏิบัติการได้นำหลักการสำคัญของวิชามานุษยวิทยาไปใช้ในการประกอบอาชีพอื่น
หลักการที่ว่านี้มีดังต่อไปนี้
(1)
ยึดการศึกษาตัวมนุษย์ทั้งในแง่สรีรภาพและวัฒนธรรมเป็นตัวตั้งหลัก
โดยคำนึงว่ากิจกรรมใด ๆ
ที่เกิดขึ้น
จะกระทำโดยมนุษย์และเพื่อมนุษย์ทั้งสิ้น
ด้วยเหตุนี้
การศึกษาในด้านพฤติกรรมเพื่อคุณภาพชีวิตจึงเป็นหลักการใหญ่ที่จะนำไปใช้ในกิจกรรมทุกแขนงอาชีพ
(2)
รูปลักษณะและแบบแผนของสังคมวัฒนธรรม
รวมทั้งการยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณี
และค่านิยมของคนแต่ละกลุ่มทุกสังคมจะได้รับการถือว่าเป็นตัวแปรสำคัญที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในกิจกรรมอาชีพต่าง
ๆ ในยุคปัจจุบัน
โดยจะมีการจำแนกออกเป็นวัฒนธรรมสากลและวัฒนธรรมพื้นบ้านเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างเด่นชัด
อนึ่ง
เราสามารถนำความรู้ทางด้านสังคมวัฒนธรรมไปใช้ในการขจัดปัญหาความไม่เข้าใจกันระหว่างกลุ่มเชื้อชาติและกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งที่อาศัยอยู่ในสังคมเดียวกันและในต่างสังคมได้
(3)
ระเบียบวิธีการศึกษาที่เน้น
"การมองภาพรวม" (Holistic Approach)
ของคน สังคม และวัฒนธรรม
โดยจะพิจารณาว่า
ในการมองสถานการณ์หนึ่งหรือปัจจัยหนึ่งซึ่งศึกษาเฉพาะตัวของมันเองโดด
ๆ
นั้นไม่สามารถวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จึงจำเป็นต้องมองสังคมทั้งสังคมเป็นส่วนรวมโดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมดอย่างละเอียด
เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้รอบด้าน
อนึ่ง
การหาข้อมูลที่ใช้ "การวิจัยสนามด้วยวิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม"
เป็นวิธีการที่จะให้ได้รับข้อมูลที่เป็นจริง
อันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการประกอบอาชีพการงานในทุกแขนง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในงานวิจัยด้านการตลาด
การบริหารบุคคล
และการวางนโยบายสาธารณะ
ตลอดจนงานด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
|