ในตอนปลายทศวรรษที่ 60
แห่งคริสต์ศักราช
หรือราวปี พ.ศ. 2510 เป็นต้นมา
วิชามานุษยวิทยาได้ก้าวเลยจุดสุดยอดของความเจริญรุ่งเรืองของสาขาวิชานี้ไป
ทั้งนี้เป็นเพราะความรู้เกี่ยวกับสังคมวัฒนธรรมของสังคมต่าง
ๆ
ทั่วโลกได้กระทำกันจนเกือบหมดสิ้น
อนึ่ง
สังคมดั้งเดิมซึ่งเคยเป็นสังคมหลักที่นักมานุษยวิทยาให้ความสนใจได้เปลี่ยนแปลงสภาพกลายเป็นสังคมที่เจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว
นั่นหมายความว่า "วัตถุดิบ"
ที่ศึกษาได้หมดสิ้นไป
และประการสุดท้าย
โลกทั้งโลกได้กลายเป็น "สังคมที่มีวัฒนธรรมเดียวกัน
"มากยิ่งขึ้นหรือที่เรียกกันว่า
สังคมทุนนิยมโลก (2)
ประการที่สอง
ในยุโรปและอเมริกา
ผู้จบการศึกษาสาขามานุษยวิทยาต่างหางานการสอนการวิจัยตามมหาวิทยาลัยต่าง
ๆ ได้ยากยิ่งขึ้น
จึงต้องออกไปหางานประเภทอื่นที่ไม่ได้ใช้วิชาชีพมานุษยวิทยาโดยตรง
เช่น ทำงานในโรงพยาบาล
ตำรวจ นักธุรกิจ
บริหารบุคคล นักการตลาด
นักพัฒนา ฯลฯ อย่างไรก็ตาม
พวกเขาก็ได้ใช้ความรู้พื้นฐานทางมานุษยวิทยากับงานที่ทำ
และสามารถทำให้หน้าที่การงานได้รับผลสำเร็จเป็นอย่างดียิ่ง
ประการที่สาม
นักมานุษยวิทยาในยุโรปและอเมริกาเริ่มหันมาสนใจศึกษาสังคมของตนเองอย่างจริงจัง
และใช้ผลการศึกษาแก้ปัญหาการว่างงาน
สร้างความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อชาติและชนกลุ่มน้อย
การเคหะแห่งชาติ
การสังคมสงเคราะห์
การศึกษา การใช้ที่ดิน
และการสร้างนโยบายสังคม
ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวข้างต้นยังผลให้เกิดความจำเป็นในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตรและการเรียนการสอนสาขาวิชามานุษยวิทยาในมหาวิทยาลัยต่าง
ๆ
เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
นั่นคือ
การหันมาเน้นมานุษยวิทยาประยุกต์มากขึ้น(3)
ปัจจุบัน มีหนังสือ
รายงานการวิจัย
และการแนะแนวการศึกษาสาขามานุษยวิทยาปฏิบัติการ
และคู่มือการประกอบอาชีพสำหรับผู้ศึกษาสาขาวิชานี้เป็นจำนวนมาก
ทั้งนี้เป็นผลมาจากการริเริ่มค้นคว้าและเขียนกันอย่างจริงจังนับตั้งแต่ปลายทศวรรษที่
60 เป็นต้นมา
|