นอกจากคน/สำนักดังกล่าวข้างต้น
ในมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เช่น
เกษตรศาสตร์ มหิดล พายัพ
สงขลานครินทร์
และขอนแก่นต่างก็มีบุคลากรและผลิตผลงานในสาขานี้เป็นจำนวนมากเช่นเดียวกัน
อนึ่ง
สำนักงานบริการข้อมูลภาษาและวัฒนธรรมทางเอเชียอาร์คเนย์
แห่งสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท
มหาวิทยาลัยมหิดล-วิทยาเขตศาลายาได้ให้ความสนใจศึกษาสังคมวัฒนธรรมในขอบเขตที่กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้
สถาบันแห่งนี้ยังได้เปิดสอนชั้นปริญญาโททางด้านวัฒนธรรมศึกษา
โดยแยกออกเป็น 3 สาขาคือ
การดนตรี สาธารณสุข
และพิพิธภัณฑ์และการอนุรักษ์วัสดุทางวัฒนธรรม
(ชาติพันธุ์ศึกษา)
ส่วนสถาบันวิจัยประชากรและสังคมแห่งมหาวิทยาลัยมหิดลก็ได้เปิดสอนระดับปริญญาโทสาขามานุษยวิทยาประยุกต์
เมื่อพิจารณาถึงจำนวนสถานศึกษา
บุคลากร
และผลงานด้านมานุษยวิทยาในประเทศไทยแล้ว
จะเห็นได้ว่า
ปริมาณและขนาดของการศึกษาได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง
30 ปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ดร.จาค อัมโยต์
นักมานุษยวิทยาชาวแคนาดา
ผู้ซึ่งเข้ามาทำงานโดยเป็นผู้บุกเบิกการสอนการวิจัยในสาขาวิชานี้ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งสถาบันวิจัยสังคม
ได้ให้ทรรศนะว่า
แม้ว่าไทยจะผลิตบุคลากรและผลงานทางด้านมานุษยวิทยาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมีปริมาณมากมายก็ตาม
แต่ผลงานที่ผลิตขึ้นยังมีลักษณะเป็นเพียงการเสนอข้อมูลพื้นฐาน
กล่าวคือ
นักมานุษยวิทยาไทยยังไม่ได้พัฒนาในด้านการวิเคราะห์ข้อมูลให้ลุ่มลึก
จนบรรลุถึงขั้นคุณภาพดีเยี่ยมเลย
ด้วยเหตุนี้
ผู้เขียนจึงมีความเห็นว่า
น่าจะเป็นหน้าที่ของอนุชนรุ่นนี้และรุ่นหลังที่จะทำการศึกษาและผลิตผลงานที่มีคุณภาพดีเด่นให้แก่วงวิชาการต่อไป
|