ระดับของรัฐบาล
เพื่อที่จะเข้าใจและมองเห็นว่าการปกครองมีระดับต่างกันในแต่ละสังคม
จะขอยกตัวอย่างให้เห็นถึงระบบการเมืองและการปกครองของสังคมที่มีขนาดประชากรและความซับซ้อนของโครงสร้างสังคมที่ต่างกัน
ในบางกรณี
ระบบการเมืองเกี่ยวข้องกับระบบเครือญาติอย่างใกล้ชิด
บางสังคมองค์การทางการเมืองก็จะแยกออกมาเป็นอิสระต่างหาก
1.
พวกบุชแมน :
ระบบที่ความสัมพันธ์ทางเครือญาติเป็นพื้นฐานสำคัญทางการเมือง
พวกบุชแมนดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์และหาของป่าในแถบประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้
คนพวกนี้รวมตัวกันเป็นกลุ่ม
ๆ
ประกอบด้วยจำนวนคนประมาณเผ่าละ
25 - 50 คน
ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกของครอบครัวขยายเดียวกัน
หัวหน้าของพวกนี้ก็คือหัวหน้าของกลุ่มครอบครัวขยายนั้นเอง
ส่วนตำแหน่งหัวหน้าจะสืบต่อกันโดยอาศัยเพศชายเป็นหลัก
อำนาจของหัวหน้าที่มีต่อคนในกลุ่มมีไม่มากนักซึ่งนักมานุษยวิทยาที่ทำการศึกษาสังคมนี้ได้กล่าวว่า
เขาน่าจะเป็นหัวหน้ามากกว่าเป็นผู้ปกครอง
เพราะบุคคลนี้เป็นผู้บริหารงานของกลุ่มโดยจะกำหนดทิศทางของการแสวงหาอาหาร
การที่จะเคลื่อนย้ายไปทางไหน
ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าในการบวงสรวงและทำพิธีกรรมต่าง
ๆ
และเป็นหัวหน้าในการนำกลุ่มรบพุ่งหรือต่อสู้กับกลุ่มอื่น
หน้าที่ของหัวหน้าอาจจะต่างกันแล้วแต่กลุ่มที่เขาเป็นหัวหน้าอยู่
ตลอดจนบุคลิกภาพและความสามารถของเขา
ในการล่าสัตว์
เขาต้องออกล่าสัตว์เช่นเดียวกับคนอื่นเพราะสังคมแบบนี้ต้องช่วยเหลือตัวเองให้มากที่สุด
เขาไม่มีหน้าที่ในการตัดสินความและคดีอื่นใด
แม้แต่การกระทำการบางอย่างของเขาอาจจะได้รับการโต้แย้งจากคนอื่นในกลุ่มนี้ด้วย
ในสังคมบุชแมนอาจจะกล่าวได้ว่าไม่มีชนชั้น
และเป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์
ทุกคนมีอิสระภาพในการกระทำกิจกรรมใด
ๆ
ตามอำเภอใจภายในกลุ่มของตน
ยกเว้นการกระทำที่ผิดต่อขนบธรรมเนียมประเพณีของกลุ่ม
คนพวกนี้จะสั่งสอนอนุชนถึงการกระทำตามบรรทัดฐานและกฎเกณฑ์ของกลุ่ม
แต่มีกฎเกณฑ์น้อยมากที่บังคับผู้ใหญ่ที่อยู่ร่วมในกลุ่มให้ปฏิบัติตาม
จะเห็นได้ว่าเมื่อไม่มีอำนาจที่เกี่ยวกับตัดสินคดีความและการจัดการเกี่ยวกับสันติภาพระหว่างครอบครัว
ดังนั้นจึงเกิดการต่อสู้ขึ้นเมื่อมีปัญหาและข้อขัดแย้งระหว่างคนในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม
อนึ่ง
คนกลุ่มนี้ไม่มีความรู้สึกผูกพันกับพื้นที่
ดังนั้น
รัฐหรือชนชาติจึงไม่เกิดขึ้น
|