ความไม่เท่าเทียมกับทางด้านเศรษฐกิจเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อระบบการเมืองด้วย
ทั้งนี้
ในสังคมที่กำลังพัฒนา
อำนาจทางเศรษฐกิจกับอำนาจทางการเมืองดูจะแยกจากกันไม่ออก
ผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีย่อม
"มีหนทาง"
ที่จะสามารถก้าวไปสู่ความสำเร็จทางด้านการเมืองด้วย
เพราะบุคคลดังกล่าวมีโอกาสใช้ฐานะทางเศรษฐกิจของตนผูกสัมพันธ์ให้ผู้อื่นคล้อยตามและกระทำตามความคิดเห็นของเขา
การศึกษาเกี่ยวข้องและสอดคล้องกับเรื่องนี้ได้แก่
ระบบผู้อุปถัมภ์ -
ผู้รับอุปถัมภ์ (patron - client relationship)4
และระบบพ่อทูลหัว (compadrazgo)
ซึ่งเป็นประเพณีของชาวลาตินยุโรปและลาตินอเมริกา
ลักษณะสำคัญของระบบพ่อทูลหัวนี้คือการที่พ่อแม่จะแสวงหาพ่อทูลหัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและการเมืองสูงให้เป็นพ่อแก่ลูกของตนเมื่อได้มีการยอมรับกันแล้วก็ย่อมจะได้พึ่งพาอาศัยกันต่อไปในอนาคต
ผู้อุปถัมภ์และพ่อทูลหัวจะใช้อำนาจและสิทธิของตนที่มีอยู่ปกป้องและให้ความคุ้มครองคนที่มีความสัมพันธ์กับตน
ในทางกลับกัน
ผู้รับอุปถัมภ์ก็จะรับใช้ด้วยความซื่อสัตย์และสนับสนุนผู้อุปถัมภ์เมื่อได้รับการขอร้อง
ในสังคมไทยมีผู้ศึกษาระบบโครงสร้างของสังคม
และนักวิชาการกลุ่มหนึ่งถึงกับกล่าวว่า
ระบบผู้อุปถัมภ์ -
ผู้รับอุปถัมภ์เป็นลักษณะสำคัญของสังคมไทยซึ่งปรากฏขึ้นตั้งแต่รากฐานไปจนถึงชั้นสูงสุดของสังคม
นักวิชาการกลุ่มนี้
อาทิเช่น L. Hank, Michael Moerman และ E. van Roy
เป็นต้น
ลักษณะทางด้านสังคม
เช่น ระบบวรรณะ ระบบชนชั้น
ล้วนเป็นวัฒนธรรมที่กำหนดความแตกต่างระหว่างคนในสังคมทั้งสิ้น
ระบบวรรณะนั้นมีลักษณะความเชื่อประเภทหนึ่ง
ชื่อ Jajmani system แฝงอยู่
ความเชื่อประเภทนี้ได้กำหนดให้คนแต่ละวรรณะยอมรับสภาพของตนว่า
เมื่อเกิดมาในวรรณะใดแล้วต้องเต็มใจที่จะอยู่ในวรรณะนั้นตลอดไป
และจะเป็นการผิดประเพณีหากพยายามปฏิเสธวรรณะของตนหรือไปใช้ชื่อร่วมกับวรรณะอื่น(5)
ดังนั้นผู้ที่ทำการปกครองก็จะมีสิทธิในการปกครองอยู่ตลอดเวลา
เพราะวรรณะที่ตนดำรงอยู่
ได้กำหนดหน้าที่เอาไว้
อำนาจทางการเมืองจึงเกิดมีขึ้นกับคนที่มีสถานภาพนั้นมาโดยกำเนิด
(ascribed status) ในทำนองเดียวกัน
การกำหนดชั้นของคนในสังคมย่อมก่อให้เกิดการมีลีลาชีวิตต่างกัน
อนึ่ง
ในบางสังคมชนชั้นปกครองและชนชั้นสูงคือคนกลุ่มเดียวกัน
และผูกขาดการเป็นผู้นำทางด้านการเมืองของสังคมตลอดเวลา
ยากที่คนอื่นจะแทนที่หรือขอร่วมกิจกรรมนั้นได้
|