ความเกี่ยวข้องกันระหว่างความไม่เท่าเทียมกันในสังคมกับความสัมพันธ์ทางเครือญาติและสายเลือดก่อให้เกิดความสับสนในการอธิบายปรากฏการณ์ประเภทนี้มาก
ในเบื้องต้นเราจะต้องดูก่อนว่า
ระดับของความสัมพันธ์ของคนในสังคมเป็นเช่นใด
เช่นแบบเท่าเทียมกัน
ได้แก่ ญาติต่อญาติ
พี่ต่อพี่ หรือแบบสูงต่ำ
ได้แก่ พ่อกับลูก
พี่กับน้อง
ซึ่งในแต่ละสังคมมีการกำหนดคำที่ใช้เรียกชื่อแทนซึ่งแสดงถึงตำแหน่งของคน
เช่น พี่ ป้า น้า อา เป็นต้น
คำเหล่านี้ได้สอดแทรกวัฒนธรรม
สิทธิและหน้าที่ที่กำหนดความประพฤติของคนหนึ่งต่ออีกคนหนึ่ง
ด้วยเหตุนี้ลักษณะของอำนาจจึงบังเกิดขึ้นและมีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ของปัจเจกบุคคล
และกลุ่มคน เช่น
พ่อมีอำนาจเหนือลูก
ญาติทางฝ่ายชายมีอำนาจเหนือญาติทางฝ่ายหญิง
เป็นต้น
ในบางสังคม
ผู้ที่มีสิทธิในการออกเสียงหรือร่วมจัดการเกี่ยวกับกิจกรรมของชุมชนต้องเป็นเพศชายเท่านั้น
ดังนั้น
อำนาจของฝ่ายชายในสังคมเหล่านี้จึงมีเหนือผู้หญิงในสังคมเดียวกัน
ในขณะเดียวกันอายุก็มีบทบาทซ่อนอยู่เหนืออิทธิพลทางด้านเพศ
ในหลายสังคม
ผู้ปกครองจะต้องมีอายุมากพอที่จะปกครองสังคมได้
เช่น
การนับถืออาวุโสในสังคมจีน
ผู้เยาว์วัยต้องเคารพยำเกรงและอยู่ใต้โอวาทของผู้อาวุโส
ประเพณีแบบนี้เป็นการกำหนดอำนาจและสิทธิพิเศษของคนกลุ่มหนึ่งให้มีอิทธิพลเหนือคนอีกกลุ่มหนึ่ง
ปัจจัยทางสังคมดังกล่าวมีลักษณะเป็นพื้นฐานสำคัญของระบบการเมืองไม่เฉพาะระดับท้องถิ่น
(local - level politics) เท่านั้น
แต่ลักษณะดังกล่าวยังปรากฏในพฤติกรรมทางการเมืองในสังคมใหญ่
(nation - state) ด้วย
|