1.
ระบบเครือญาติกับอำนาจ
ในสังคมเล็ก ๆ เช่น
สังคมเผ่า สังคมชนบท
และสังคมที่เพิ่งได้รับเอกราชใหม่
ๆ
ระบบเครือญาติกับการเมืองแยกออกจากกันไม่เด็ดขาด
บางครั้งอาจกล่าวได้ว่าสถาบันทั้งสองเกี่ยวเนื่องกันแทบจะแยกไม่ออก
บาเลนเดอร์ (Balandier)
ได้กล่าวว่า "การศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของความสัมพันธ์ทางด้านสายเลือด
(lineage organization) เช่น ลูกชายของลูก
ลูก พ่อ พ่อของพ่อ
พ่อของพ่อของพ่อ ฯลฯ
จะทำให้เห็นความสัมพันธ์ของการใช้อำนาจซึ่งมีพื้นฐานมาจากหลักของการสืบสายโลหิต"(2)
มีตัวอย่างของสังคมจำนวนมากที่ความสัมพันธ์ทางด้านการเมืองได้ปรากฏขึ้นจากโครงสร้างทางด้านเครือญาติ
ความสัมพันธ์เชิงเครือญาติ
สามารถแยกออกได้เป็น 2
ลักษณะ คือ
ก.
ความสัมพันธ์ที่เกิดจากการแต่งงาน
การแต่งงานเป็นการสร้างความสัมพันธ์ของคนสองกลุ่มเข้าด้วยกัน
ข.
ความสัมพันธ์โดยทางสายเลือด
ความแตกต่างทางวัฒนธรรมทำให้แต่ละสังคมยึดถือความสัมพันธ์
โดยทางสายเลือดแตกต่างกันออกไป
เช่น
บางสังคมยึดถือเอาการสืบสายตระกูลฝ่ายชายเป็นหลัก
บางสังคมยึดเอาฝ่ายหญิงเป็นหลัก
และบางสังคมก็ยึดสายเลือดทั้งสองฝ่าย
ลักษณะของระบบเครือญาติมีความสัมพันธ์กับอำนาจ
ดังเช่น
ระบบเครือญาติก่อให้เกิดการรวมกลุ่มถาวรที่เรียกกันว่า
corporate group
ซึ่งหมายถึงกลุ่มที่มีความสัมพันธ์ต่อกันนานไม่ว่าสมาชิกบางคนจะล้มตายไปแต่สมาชิกที่เหลือและสมาชิกใหม่ก็ยังรวมกลุ่มกันเหมือนเดิม
ลักษณะของกลุ่มแบบนี้มีความสำคัญต่อการเมืองในแต่ละสังคมมาก
หากกลุ่มไหนมีจำนวนสมาชิกมาก
และมีอิทธิพลเหนือกลุ่มอื่น
หัวหน้าของกลุ่มนั้นย่อมได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าปกครองสังคมทั้งหมด
ในทำนองเดียวกัน
การแต่งงานย่อมทำให้กลุ่มอย่างน้อยสองกลุ่มรวมเข้าด้วยกัน
ซึ่งก่อให้เกิดพลังร่วมเหนือกลุ่มอื่นและอำนาจย่อมมีมากขึ้น
|