วิเคราะห์ทฤษฎีของมอสส์และซาลินส์
ทั้งมอสส์และซาลินส์อ้างว่าตนเป็นผู้ที่นำเอาข้อมูลจริงที่ปรากฏขึ้นในสังคมเป็นหลักในการอธิบายและตั้งเป็นทฤษฎีขึ้น
สำหรับมาร์เซล มอสส์นั้นได้กล่าวถึงกฎเกณฑ์ด้านศีลธรรมที่บังคับความประพฤติของคนให้ปฏิบัติตามกลไกที่มีเหตุมีผล
เขายังกล่าวต่อไปอีกว่า
ในสังคมดั้งเดิมนั้นทุกคนเป็นกันเองต่อกัน
แต่การที่จะสร้างและพัฒนามิตรภาพต่อกันจะต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่ว่าไว้
การให้ของกำนัลแก่กันเป็นเพียงกลวิธีทางสังคมที่คนต้องการแสวงหาผลประ
โยชน์จากการเสแสร้งว่าเป็นคนใจกว้าง
จะเห็นได้ว่า
กฎเกณฑ์ทางสังคมที่มอสส์สร้างขึ้นนั้นเป็นไปตามหลักตรรกศาสตร์มากกว่าที่ใช้ข้อเท็จจริงทางสังคมมาเป็นพื้นฐานทางทฤษฎี
ทั้งนี้เพราะเขาได้ตั้งสมมติฐานว่าทุกคนต้องเป็นผู้หวังประโยชน์
(economic man)
ซึ่งจะต้องสร้างหรือให้ของกำนัล
เพื่อผลประโยชน์ที่จะได้รับทางวัตถุและมิตรภาพจากอีกฝ่ายหนึ่ง
อาจมีคำถามถามขึ้นว่าตามสภาพความเป็นจริงทางสังคมนั้น
คนจะต้องกระทำแบบนั้นทุกครั้งหรือเปล่าที่จะให้ได้มาซึ่งสิ่งที่เขาต้องการหรือมิตรภาพจากคนอื่น
คำถามนี้อาจทำให้เราต้องคิดอย่างรอบคอบก่อนที่จะนำเอาทฤษฎีของมอสส์ไปใช้
สำหรับแนวความคิดของซาลินส์นั้นอาจปรากฏว่าเป็นทฤษฎีที่ใช้ข้อมูลที่มีพื้นฐานจากสภาพที่เป็นจริงมากกว่า
เพราะเขาได้ปฏิเสธที่จะพิจารณาว่ามิตรภาพที่มีต่อกันจะมีผลมาจากการแลกเปลี่ยนเท่านั้น
ทั้งนี้เพราะสังคมและกระบวนการทางสังคมมิใช่เป็นเรื่องเศรษฐกิจและไม่ขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ทางเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียว
เขากล่าวว่าการที่คนจะคาดหวังที่จะได้รับสิ่งตอบแทนจากอีกฝ่ายหนึ่งนั้นเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับมิตรภาพเลย
ด้วยเหตุนี้เขาจึงจำแนกการแลกเปลี่ยนสิ่งของระหว่างบุคคลและกลุ่มคนตามความสัมพันธ์ทางสังคม
อย่างไรก็ตาม ทั้งมอสส์และซาลินส์มิได้กล่าวถึงสภาพทาง
"ปริมาณ" และ "คุณค่า"
ของสิ่งของที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนเลยซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นข้อจำกัดของทฤษฎีดังกล่าว
อนึ่ง
การคาดหวังผลกำไรจะเกิดขึ้นในกรณีที่ต้นทุนของสิ่งของที่นำมาใช้ในการแลกเปลี่ยนนั้นมีค่าเชิงปริมาณและคุณค่าต่างกัน
เราสามารถคิดจากสมการดังนี้
P
= TR
- TC
Profit =
Total Revenue - Total Cost
หรือ
กำไร
= รายได้รวม - ต้นทุน