บทที่10  การแลกเปลี่ยนและเงินตรา   >> หน้า 6

AN113


ในหลักความจำเป็นที่จะต้องรับนั้นก็มีความสำคัญเป็นพิเศษเช่นเดียวกัน กล่าวคือ การปฏิเสธที่จะรับหมายถึงการไม่ยอมรับสัมพันธภาพของอีกฝ่ายหนึ่งหรือเป็นการประกาศสงครามกับผู้ให้นั่นเอง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดจากปรากฏการณ์ดังนี้ ได้แก่ การเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างเมืองในอดีตในกรณีที่พระเจ้าล้านนาต้องการจะมีความสัมพันธ์อันดีกับพระเจ้าล้านช้าง พระองค์จะต้องส่งพระธิดาองค์ใดองค์หนึ่งไปเป็นบรรณาการแก่พระเจ้าล้านช้าง หากพระเจ้าล้านช้างปฏิเสธที่จะรับพระธิดาของพระเจ้าล้านนาเป็นพระสนม  นั่นหมายถึงสงครามระหว่างนครทั้งสองจะต้องเกิดมีขึ้นทันที

                อย่างไรก็ตาม พระเจ้าล้านช้างจะไม่เพียงแต่รับพระธิดาของพระเจ้าล้านนาฝ่ายเดียว พระองค์จำเป็นจะต้องส่งพระธิดาของพระองค์กลับไปให้แก่พระเจ้าล้านนาเป็นการตอบแทน ซึ่งตรงกับหลักความจำเป็นที่จะต้องตอบแทนแก่ผู้ให้

                ทฤษฎีของมอสส์ได้รับความสนใจจากนักมานุษยวิทยาร่วมสมัยเป็นอันมาก เพราะเขาเป็นคนแรกที่ตั้งกฎเกณฑ์ของการศึกษาเรื่องเศรษฐกิจการแลกเปลี่ยนที่กอร์ปไปด้วยหลักตรรกศาสตร์โดยนำเอาข้อมูลของสังคมต่าง ๆ มาวิเคราะห์และสรุปเป็นกฎสากลเพื่อใช้อธิบายปรากฎการณ์ทางสังคม

                หลังจากที่มาร์เซล มอสส์   ได้เสนอแนวความคิดของเขาให้ผู้ร่วมวิชาชีพเดียวกันเพื่อใช้เป็นแนวความคิดในการถกเถียงกันแล้ว นักมานุษยวิทยาอีกหลายคนก็ได้เสนอทฤษฎีของเขา   อาทิเช่น A.W. Gouldner ผู้เสนอแนวคิดเรื่องบรรทัดฐานของการแลกเปลี่ยน  (a norm of reciprocity) และ George Homans ผู้เสนอแนวความคิดเรื่อง พฤติกรรมทางสังคมเป็นเสมือนการแลกเปลี่ยน (social behavior as exchange) ในขณะเดียวกันแต่ละคนก็ได้ใช้ข้อมูลมาสนับสนุนแนวความคิดของตน ความพยายามเหล่านี้มีความสำคัญต่อความเจริญก้าวหน้าในการศึกษาเชิงมานุษยวิทยาเป็นอย่างยิ่ง

                ในที่นี้ ผู้เขียนขอเสนอแนวความคิดของศาสตราจารย์ มาร์แชล ซาลินล์  ผู้ซึ่งได้เสนอแนวความคิดของเขาไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้    

         การแลกเปลี่ยนในสังคมดั้งเดิมนั้นเป็นการกระจายผลิตผลทางเศรษฐกิจที่มีบทบาทแตกต่างไปจากการเคลื่อนไหวของสินค้าและบริการในสังคมสมัยใหม่ โดยทั่วไปแล้ว การแลกเปลี่ยนจะปรากฏอยู่ 2 รูปแบบ คือ