ในสังคมดั้งเดิมนั้น
การกระจายผลผลิตมิได้เป็นตามกฎเกณฑ์เชิงเศรษฐศาสตร์ดั่งเช่นสังคมสมัยใหม่
ส่วนมากจะปรากฏในรูปของการให้ของกำนัลหรือของที่ระลึก
(gift)
และการแลกเปลี่ยนเชิงพิธีกรรม
(ceremonial exchange)
การแลกเปลี่ยนมักจะเป็นไปในรูปของการแลกโดยใช้ของต่อของ
(barter system) เป็นสำคัญ
ตัวอย่างของการศึกษาสังคมต่อไปนี้นัก
มานุษยวิทยาถือกันว่าเป็นรูปแบบแม่บทหรือเป็นแบบฉบับในการศึกษาเรื่องเศรษฐกิจการแลกเปลี่ยนและได้มีการกล่าวขวัญถึงรูปแบบหรือประเพณีการแลกเปลี่ยนของคนในสังคมนี้อยู่เสมอ
1.
วัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนของชาวเกาะโทรเบียน
ชาวเกาะโทรเบียนซึ่งอาศัยอยู่ในหมู่เกาะมาเลนีเซีย
ทะเลใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิกมีประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์คือการแลกของที่ระลึกแก่กัน
ทุกคนเมื่อจะเข้าไปในสังคมนี้จะต้อง
เตรียมของ เช่น
เครื่องประดับ
เพื่อให้กับคนอื่นอันเป็นการแสดงถึงการทักทายและเป็นการสร้างมิตรภาพและความคุ้นเคยขึ้น
ส่วนผู้รับก็จะให้คำมั่นสัญญาว่าจะนำของที่มีค่าเท่ากันหรือมากกว่ามาให้เป็นการตอบแทน
กระบวนการแลกของระหว่างกันนั้นจะประกอบไปด้วยพิธีการและคำกล่าวที่เป็นทางการจากผู้ให้และผู้รับ
ตลอดจนมีกฎเกณฑ์ความประพฤติและมารยาทบังคับไว้ในขณะที่มีกิจกรรมทางสังคมชนิดนี้ขึ้น
ในการแลกเปลี่ยนสิ่งของต่อกันภายในสังคมนั้นจะมีลักษณะเป็นการสร้างความสัมพันธ์ต่อกันมากกว่าที่จะเป็นการแข่งขันระหว่างกัน
นอกจากนี้ยังมีการนำเอาอาหารมามอบไว้ที่ส่วนกลางหรือครอบครัวของหัวหน้า
เพื่อหัวหน้าจะได้นำเอาอาหารเหล่านี้ไปบริโภคในหมู่ผู้ปกครองและนำไปแจกจ่ายให้แก่เด็กและผู้ที่เจ็บป่วย
ตลอดจนจัดงานเลี้ยงสำหรับสมาชิกของสังคมทุกคนในงานรื่นเริงซึ่งมักจะจัดให้มีขึ้นปีละหลาย
ๆ ครั้ง
ส่วนการแลกเปลี่ยนระหว่างสังคมหรือที่เรียกว่า
"กุลา"
นั้นก่อให้เกิดประเพณีการแลกของต่อของระหว่างเผ่าซึ่งมีส่วนสัมพันธ์โดยตรงกับสถานภาพทางสังคมของผู้ให้และผู้รับและคุณค่าทางเวทมนต์คาถาของทั้งสองฝ่าย
หน้าที่ประโยชน์ที่สำคัญของการแลก
"กุลา" นั้นทำให้เกิดบูรณาการระหว่างสังคมขึ้น
คนในเผ่าต่าง ๆ
จะมีความสัมพันธ์ต่อกันและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ทั้งนี้เนื่องมาจากการสร้างหนี้สินซึ่งผู้อื่นนำเอาของมาใช้และการมีภาระผูกพันที่จะต้องชดใช้คืนหมุนเวียนกันไปอย่างไม่มีวันจบสิ้น(1)
|