2.
วัฒนธรรมพอทแลทซของอินเดียนแดงเผ่าควาคิตอล
ประเพณีพอทแลทชของอินเดียนแดงเผ่าควาคิตอลมีการแลกเปลี่ยนโดยการเชิญไปกินเลี้ยงและให้ของขวัญในงานวันพิเศษ
โดยเฉพาะในวันที่มีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพของชีวิต
(rites de passage) เช่น วันเกิด
วันเริ่มเข้าสู่วัยสาว
วันแต่งงานและวันตาย
หรือแม้กระทั่งวันปกติธรรมดาที่มิใช่เป็นวันพิเศษดังที่กล่าวนี้ก็ตาม
งานเลี้ยงจะกระทำขึ้นเพื่อแสดงถึงความยิ่งใหญ่และความร่ำรวย
ถ้าหากใครสามารถจัดงานเลี้ยงได้บ่อยครั้งและทำลายข้าวของหรือภาชนะที่ใช้ใส่อาหารและเครื่องครัวมากกว่าก็ถือว่าเขาได้รับเกียรติยศชื่อเสียงทางสังคมมากแค่นั้น
ในขณะเดียวกัน
แขกที่ได้รับเชิญไปในงานเลี้ยงก็จะต้องเป็นเจ้าภาพจัดงานเลี้ยงเพื่อเป็นการตอบแทนแก่เจ้าภาพเดิมและทำลายข้าวของให้เท่ากับงานที่เคยได้รับเชิญไป
หรือทำลายในจำนวนที่มากกว่า
ในการเชิญไปในงานเลี้ยงนั้นมิใช่จะเชิญไปเข้าร่วมเพื่อความสนุกสนานเท่านั้น
แต่ผู้รับเชิญจะปฏิเสธการไปร่วมงานนั้นมิได้และจะไม่จัดงานเป็นการตอบแทนก็มิได้อีกเช่นกัน
ส่วนการรับสิ่งของจากอีกฝ่ายหนึ่ง
ผู้รับจะต้องใช้คืนเป็นจำนวน
2
เท่าจากที่ได้รับมาภายในระยะเวลา
1 ปี กระบวนการของพอทแลทชเป็นเสมือนการบังคับให้ยืมและเป็นการลงทุนด้วย
ทั้งนี้เป็นเพราะความสัมพันธ์ดังกล่าวก่อให้เกิดความเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้
และจำนวนของที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนจะเพิ่มขึ้นในอัตราเรขาคณิต(2)
การศึกษาเรื่อง "กุลา"
และ "พอทแลทช"
นี้แสดงให้เห็นถึงระบบเศรษฐกิจของสังคมดั้งเดิมที่การกระจายผลผลิตปรากฏเป็นรูปแบบพิเศษและแตกต่างไปจากสังคมที่เรากำลังอาศัยอยู่
ทั้งนี้
กระบวนการแลกเปลี่ยนเกิดขึ้นในหมู่คนที่มีอาชีพและการดำเนินชีวิตเหมือนกัน
สิ่งของที่ใช้เป็นสื่อกลางของการแลกเปลี่ยนก็มิได้แตกต่างกันเลย
ด้วยเหตุนี้
หน้าที่ประโยชน์ของกิจกรรมด้านนี้จึงมีมากกว่าที่จะเป็นเพียงการกระจายผลิตผลเท่านั้น
แต่รวมไปถึงประโยชน์ในด้านการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
(social unity)
และความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น
(social cohesion)
ระหว่างสมาชิกในสังคมเดียวกันและระหว่างเผ่าอีกด้วย
ผู้อ่านลองพิจารณาสังคมตัวอย่างอีกสังคมหนึ่งซึ่งมีการจัดระเบียบทางสังคมที่แปลกแตกต่างไปจากสังคมทั้งหลาย
คือ สังคมของชาวเฟอร์
ผู้ที่ทำการศึกษาสังคมนี้คือศาสตราจารย์เฟรดริค
บาร์ธ ในสังคมนี้สามีและภรรยาต่างมิได้อาศัยอยู่ร่วมกันเป็น
"หน่วยทางเศรษฐกิจ"
แบบครอบครัว
ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงต่างผลิตและต่างก็บริโภคสิ่งที่ตนทำขึ้นโดยไม่เกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน
|