บทที่9
ระบบเศรษฐกิจเทคโนโลยีและสภาพนิเวศ
>> หน้า
14
|
|
2.
ในสังคมที่มีการปลูกพืชไร่นั้น
การทำไร่เลื่อนลอยหรือการถางป่าแล้วเผา
ให้ที่ดินแถบไหล่เขาโล่งเตียนเพื่อใช้ในการเพาะปลูกมีปรากฏในแถบเขตร้อนบริเวณเส้นศูนย์สูตรตาม
บริเวณไหล่เขา เช่น
ภาคเหนือของไทย ลาว พม่า
อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์
และไหล่เขาลุ่มน้ำ
อเมซอนในทวีปอเมริกาใต้
เป็นต้น
นักมานุษยวิทยาชื่อ ดีเรก
ฟรีแมน
ได้ศึกษาชนชาวอีบานที่อาศัยอยู่บนเกาะซาราวัค
ซี.เอช.คองคลิน
ศึกษาวิจัยชาวฮานูนูบนเกาะฟิลิปปินส์
และ เอฟ. เจแมน
ทำการศึกษาชีวิตของชาวชินที่อาศัยอยู่ตอนเหนือของประเทศพม่า
ทั้งสามได้บรรยายลักษณะการทำไร่เลื่อนลอยของชนสามสังคมดังกล่าวว่า
คนพวกนี้อาศัยอยู่บนไหล่เขาที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลกว่า
1,000 เมตรขึ้นไป
แต่ละหมู่บ้านจะประกอบไปด้วยสมาชิกจำนวนไม่มากนัก
ราว 10-20 ครัวเรือน
ความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่ต่ำ
ชาวอีบานจะถางป่าด้วยมีดและขวาน
จากนั้นจะเก็บกิ่งไม้ใบไม้แห้งมาเผาให้โล่งเตียน
ขั้นต่อมาก็จะใช้ไม้เจาะตามพื้นดินและหยอดเมล็ดข้าวตามหลังแล้วใช้เท้ากลบดิน
เมื่อถึงฤดูฝนเมล็ดข้าวก็จะงอกขึ้น
การทำไร่เลื่อนลอยนี้ต้องใช้กำลังงานถึง
3,180
ชั่วโมงต่อคนต่อปีทีเดียว
สมาชิกของครัวเรือนทุกคนต้องทำงานหนัก
มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนตลอดเวลา
ยามฝนตกฟ้าร้องฟ้าผ่าล้วนเป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตทั้งสิ้น
คนเหล่านี้จะแบ่งงานกันแบบง่าย
ๆ เช่น
ผู้ชายจะทำงานที่ใช้แรงงานมาก
เป็นต้นว่า แผ้วถางป่า
และซ่อมแซมบ้านเรือน
ส่วนผู้หญิงและเด็กจะหุงหาอาหารและปลูกข้าว
การทำไร่เลื่อนลอยก่อให้เกิดการพังทะลายและหน้าดินถูกชะล้างเร็ว
ซึ่งก่อให้เกิดดินจืดภายใน
1 - 2 ปี
ชาวไร่เหล่านี้ก็จะย้ายไปแผ้วถางป่าแห่งอื่นเรื่อยไป
กล่าวกันว่า
ที่ดินที่ถูกทิ้งร้างไว้จะกลับมาทำการเพาะปลูกใหม่อีกครั้งในช่วงเวลา
7 - 11 ปี
3.ในสังคมเกษตรกรรมบนพื้นราบนั้น
ผู้อ่านสามารถพบเห็นได้ทั่วไปตามหมู่บ้านเกือบทุกแห่งในประเทศไทยของเรา
และในประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลก
นักมานุษยวิทยามากมายที่ให้ความสนใจศึกษาสังคมชาวนา
(peasant society)
คนในสังคมประเภทนี้ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่อย่างถาวรใกล้เคียงกับที่ดินเพาะปลูก
ที่ดินเป็นหน่วยพื้นฐานในการรวมกลุ่มทางสังคม
ที่ดินเป็นสินทรัพย์และเป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีแก่อนุชน
ชาวนามีวิถีชีวิตแบบชนบท
เทคนิคในการเพาะปลูกได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ
ส่วนการทำงานนั้นมีการแบ่งงานกันบ้างแต่มิใช่เป็นการแบ่งตามความสามารถพิเศษเฉพาะ
ทั้งนี้เพราะคน ๆ
หนึ่งสามารถทำงานแทนกันได้ทุกอย่างนับตั้งแต่ไถนาไปจนถึงขนข้าวขึ้นยุ้งฉาง
สำหรับวัฒนธรรม
|