ระบบเศรษฐกิจ
เราอาจจำแนกระบบเศรษฐกิจของสังคมต่าง
ๆ ทั่วโลกออกเป็น (1)
การเข้าป่าล่าสัตว์ (hunting and
gathering) (2) การปลูกพืชไร่ (shifting cultivation
and horticulture) (3)
การทำเกษตรบนพื้นราบ (irrigated
agriculture) และ (4) อุตสาหกรรม (industry)
ระบบเศรษฐกิจแต่ละระบบจะมีรูปแบบเด่นเฉพาะตัวและจะก่อให้เกิดแบบแผนการดำเนินชีวิตของสมาชิกของสังคมไปคนละแบบ
ดังตัวอย่างดังต่อไปนี้
1.
รองศาสตราจารย์ชนัญ
วงษ์วิภาค
แห่งภาควิชามานุษยวิทยา
มหาวิทยาลัยศิลปากรได้เล่าถึงระบบเศรษฐกิจการเข้าป่าล่าสัตว์ของชนเผ่าผีตองเหลือง
ที่มีถิ่นที่อยู่ในแถบอำเภอสาและอำเภอร้องกวาง
จังหวัดน่านว่า ในปี พ.ศ. 2530
ที่ทำการศึกษานั้น
ชนเผ่านี้อาศัยอยู่ตามไหล่เขาซึ่งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลราว
3,000 ฟุตขึ้นไป
ที่ตั้งชุมชนจะตั้งใกล้แหล่งน้ำ
เช่น ลำธาร
หรือบริเวณที่มีน้ำซับซึมขึ้นมา
เพื่อใช้ในการบริโภคและสามารถหาปูปลาจากลำธารนั้นด้วย
ชาวผีตองเหลืองจะเก็บพืชผักผลไม้และของป่ามาเป็นอาหาร
อาหารหลักที่หาได้ เช่น
มันเล็ก มันสีเลือดหมู
มันจ้าวมะพร้าว และมันอ้น
ซึ่งต้องใช้ไม้เสี้ยมปลายแหลมหรือเสียมขุดดินรอบ
ๆ
โคนต้นมันจนได้หัวมันขึ้นมา
จากนั้น
ก็จะหักเอาเฉพาะส่วนหัวที่เป็นเนื้อมันไปทำอาหารและจะปล่อยให้จุดขั้วระหว่างต้นกับหัวมันไว้ประมาณ
1 - 2 นิ้ว ฝังกลบไว้ในหลุมเก่า
เมื่อฝนตกมันในหลุมก็จะเจริญเติบโตและใช้หัวมันเป็นอาหารในปีถัดไป
ในฤดูฝน
จะเป็นช่วงที่ป่ามีอาหารให้ชาวผีตองเหลืองเก็บกินได้มากกว่าช่วงฤดูอื่นการจับสัตว์ป่าก็เป็นแหล่งที่มาของอาหารอีกทางหนึ่ง
ซึ่งใช้อาวุธที่มีเพียงหอกและมีด
เท่านั้น