บทที่9
ระบบเศรษฐกิจเทคโนโลยีและสภาพนิเวศ
>> หน้า
12
|
|
การขุดถ่านหินเป็นงานที่เสี่ยงพอควร
โดยเฉพาะอุบัติเหตุที่เกิดจากเหมืองระเบิด
จากการใช้เครื่องไม้เครื่องมือ
อากาศเป็นพิษ เป็นต้น
ความรู้สึกต่อสิ่งเหล่านี้ได้แสดงออกมาในรูปของบทร้อยกรอง
เช่น
บทแรกเขียนขึ้นเมื่องปี 1882
หลังจากที่เหมืองทริมดอนได้เกิดระเบิด
มีใจความตอนหนึ่ง
Oh let's not think of tomorrow, lest we disappointed be,
Our joys may turn to sorrow as we may daily see.
Today life may be strong and healthy, but soon there
comes a change,
As we may see from the explosion that has been at
Trimdom Grange.
ดังนั้น
ทัศนคติว่า "กิน ดื่ม
และสนุกสนาน
พรุ่งนี้เราอาจตาย"
เป็นพื้นฐานของกิจกรรม
การใช้เวลาว่าง
และการใช้ชีวิตของครอบครัวกรรมกร
บทร้อยกรองที่สองได้เขียนขึ้นเมื่องเกิดโศกนาฏกรรมที่เหมืองซีแฮมในปี
1890 ว่า
Death to me short notice gave,
And quickly took me to the grave.
Then haste to Christ, make no delay,
For no one knows his dying day.
การเก็บสะสมทรัพย์สินของกรรมกรมีน้อย
และเงินที่สะสมได้ก็มีจำนวนเพียงพอที่จะเลี้ยงครอบครัวในยามเมื่อที่ไม่สามารถทำงานได้
เช่น ยามเจ็บป่วย เพราะในปี
คศ. 1952
ยังไม่มีกฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายค่าสุขภาพในอุตสาหกรรมถ่านหิน
หากคนไหนเป็นสามีที่ดี
เขาก็จะทำงานล่วงเวลาเพื่อให้ได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้นเพื่อความสุขในครอบครัว
ลักษณะทางด้านสังคมของคนในเมืองนี้
ผู้ชายมักจะมีกิจกรรมเฉพาะ
เช่น การดื่มเบียร์
ในเวลาว่าง
หรือเวลารอระหว่างเข้า -
ออกกะการทำงาน
ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มในเหมือง
คนเหล่านี้จะสบถสาบานในขณะที่พูด
หรือพูดคำหยาบโลน
หรือคุยกันเรื่องเพศอย่างเปิดเผย
และสนุกสนาน
คำพูดเหล่านี้จะไม่นำเอาไปใช้ในครอบครัวเพราะมีผู้หญิงร่วมอยู่ด้วย
ดังนั้น
ผู้ชายจึงต้องแสดงตัว 2
บทบาท
และจะต้องมีพฤติกรรมต่างกันระหว่างบ้านกับที่ทำงาน
นอกจากจะดื่มเบียร์แล้วก็มีการเล่นบิลเลียด
แทงหรือพนันการแข่งม้า
และไปดูรักบี้ เป็นต้น(7)
|