บทที่9
ระบบเศรษฐกิจเทคโนโลยีและสภาพนิเวศ
>> หน้า
10
|
|
ความเป็นชุมชนของแอชตันนอกจากจะเป็นผลเนื่องมาจากตัวแปรทางด้านภูมิศาสตร์
สังคมและวัฒนธรรมดังที่กล่าวมาแล้ว
ความรู้สึกของกรรมกร
ครอบครัวและพฤติกรรมที่แสดงออกก็แสดงถึงความเป็นชุมชนของเมืองนี้ด้วย
กรรมกรมีส่วนผูกพันในส่วนของงานคือทำงานร่วมกัน
ทำงานในที่มืด ๆ สกปรก
มีระบบอาวุโส
ร่วมกันไสตร์ค ปิดเหมือง
และว่างงานในบางโอกาส
จึงทำให้เกิดลักษณะวัฒนธรรมพิเศษของคนในเมืองนี้ขึ้น
แอชตันมิใช่เป็นเมืองสวรรค์ทางด้านเศรษฐกิจหรือเมืองที่สวยงาม
แต่เป็นเมืองที่ถูกตักตวงเอาประโยชน์
สภาพพื้นที่มีแต่ขลุขละ
เต็มไปด้วยหลุมและบ่อและมีสิ่งแวดล้อมเป็นพิษทั่วไป
ความยากจนบังเกิดขึ้นและสามารถมองเห็นได้เมื่อเปรียบเทียบกับประชาชนของเมืองข้างเคียง
อย่างไรก็ตาม
คนแอชตันมีความรู้สึกไวต่อคำวิจารณ์ของผู้อื่นและพร้อมที่จะช่วยกันป้องกันคำให้ร้ายต่าง
ๆ
ความสัมพันธ์ของชาวเมืองเป็นไปอย่างสนิทแน่นแฟ้นเสมือนการร่วมกันทำงานในเหมือง
ทั้งนี้เป็นเพราะความเหมือนกันในด้านความยากจน
ความสกปรก
และการไสตร์คซึ่งเชื่อมโยงเป็นสายสัมพันธ์ไปทุกบ้านและมุมถนน
ผู้หญิงชาวแอชตันก็มีประสบการณ์ที่คล้ายกันในด้านการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้ครอบครัวอยู่รอด
ไม่ว่าจะตกอยู่ในภาวะการว่างงานของสามี
หรือภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
แต่โดยทั่วไปแล้วแบบแผนความประพฤติที่เป็นลักษณะเด่นของชุมชนมาจากผู้ชาย
เพราะเป็นกลุ่มคนที่มีพื้นฐานทางอาชีพที่คล้ายคลึงกัน
ในการทำงานในเหมืองถ่านหิน
กรรมกรจะต้องทำงาน 5
วันต่ออาทิตย์
การจัดการรับคนงานเป็นหน้าที่ของตัวแทนของคณะกรรมการถ่านหินแห่งชาติในการรับคนและจ่ายเงินค่าจ้าง
ชายใดประสงค์ที่จะรับจ้างก็จะต้องทำตามคำสั่งของตัวแทนดังกล่าว
ซึ่งอาจจะให้ทำงานประเภทใดแล้วแต่กรณี
บางเหมืองเป็นธุรกิจของเอกชนซึ่งเจ้าของเหมืองจะกำหนดการทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ของบริษัท
กรรมกรชาวแอชตันไม่ค่อยได้พบกับผู้บริหารของคณะกรรมการหรือเจ้าของบริษัท
เพราะคนเหล่านี้มีที่พักอาศัยอยู่ที่อื่นนอกเมืองแอชตันทั้งสิ้น
ค่าจ้างที่ได้รับจากการทำงานจะเป็นค่าใช้จ่ายทุกประเภทในครัวเรือน
ตั้งแต่อาหาร เสื้อผ้า
ที่อยู่อาศัย
และการพักผ่อนหย่อนใจ
จำนวนของอัตราค่าจ้างขึ้นอยู่กับกระบวนการของการต่อรองที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน
ระหว่างผู้รับจ้าง
เจ้าของเหมือง
และตัวแทนของกรรมกรหรือที่เรียกว่าสหภาพแรงงาน
|