บทที่ 9
ระบบเศรษฐกิจเทคโนโลยีและสภาพนิเวศ
>> หน้า
8
|
|
ในจังหวัดกาฬสินธุ์
หมู่บ้านนาเชือกเหนือได้รับน้ำชลประทานในการเพาะปลูกสามารถปลูกพืชได้ทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง
ส่วนหมู่บ้านหนองกาวไม่ได้รับน้ำจากชลประทานเลย
จึงปลูกข้าวได้เฉพาะฤดูฝนเท่านั้น....(6)
ตัวอย่างที่ยกมานี้
จะเห็นได้ว่าในสังคมเกษตรกรรม
คนสามารถเอาชนะธรรมชาติได้บ้างแล้ว
อิทธิพลสิ่งแวดล้อมมีบทบาทต่อชีวิตของมนุษย์น้อยลง
ในขณะเดียวกัน
คนจะพยายามสร้างระเบียบแบบแผนและแนวทางปฏิบัติทางวัฒนธรรมประเภทอื่นขึ้น
อาทิเช่น
การเตรียมอาหารที่พิถีพิถันมากกว่าเดิม
มีการสร้างบ้านเรือนและถิ่นที่อยู่อาศัย
มีหัวหน้ากลุ่มหรือผู้ปกครอง
สังคม
มีพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานอาชีพต่าง
ๆ
สร้างระบบความเชื่อและศาสนา
และระบบการแบ่งงาน
เป็นต้น
อิทธิพลของแบบแผนความประพฤติหรืออาจเรียกว่า
"วัฒนธรรม"
ก็เข้ามามีบทบาทต่อการดำรงชีวิตของคนมากขึ้นตามลำดับ
แต่เมื่อเราหันไปมองดูการดำรงชีวิตของคนในสังคมดั้งเดิมแล้ว
ความสามารถทั้งหมดถูกนำไปใช้ในการแสวงหาอาหารเพื่อการยังชีพ
พวกเขาจะไม่มีเวลาเหลือพอที่จะมาสร้างวัฒนธรรมประเภทอื่น
ๆ ได้อีก ด้วยเหตุนี้
การดำรงชีวิตของคนเหล่านี้จะต้องพึ่งพาอาศัยธรรมชาติอยู่มาก
ค.
สำหรับลักษณะของชุมชนเมืองนั้น
สภาพการตั้งถิ่นฐานและการประกอบอาชีพจะมีลักษณะแตกต่างไปจากสังคมที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
ดังเช่นตัวอย่างของเมืองแอชตัน
แอชตันเป็นเมืองที่ตั้งอยู่บริเวณเวสต์ไรดิงในมณฑลยอร์คเชีย
ประเทศอังกฤษ
การขยายตัวของเมืองแอชตันก็คล้าย
ๆ กับเมืองอื่น ๆ
ที่มีผลผลิตคล้าย ๆ
กับเมืองอื่น
และมีวัตถุดิบ คือ ถ่านหิน
จำนวนประชากรได้ขยายตัวจาก
600 - 700 คน ในปี คศ. 1851 มาเป็น 13,925
คนในปี 1951
ในปี
คศ. 1868
เหมืองถ่านหินที่ทำการขุดเป็นครั้งแรก
ชื่อ แมนตัส
ทำให้ประชากรทวีจำนวนขึ้นเป็น
2,265 คนในปี 1871
มีการขุดลึกและกลายเป็นเหมืองที่สองในปี
1885 ซึ่งประชากรมีจำนวน 7,528 คน (เมื่อสำรวจปี
1891)
จนกระทั่งมีประชากรจำนวนสูงสุดเมื่อสำรวจสำมะโนประชากรในปี
1931 ถึง 14,955 คน
จะเห็นได้ว่า
จำนวนประชากรของเมืองแอชตันได้เพิ่มจำนวนขึ้นในขณะที่มีการขุดถ่านหินจากเหมืองมากขึ้นด้วย
ผลสะท้อนของปรากฏการณ์เหล่านี้มีผลสืบเนื่องไปยังขนาดของ
|