บทที่ 9
ระบบเศรษฐกิจเทคโนโลยีและสภาพนิเวศ
>> หน้า
7
|
|
คำว่า
"ดี" หรือ "เลว" หรือ
"ต่ำ"
นั้นอาจตัดสินกันได้ยาก
คนในสังคมดั้งเดิมอาจมีชีวิตความเป็นอยู่ที่แร้นแค้นแต่มีความสัมพันธ์ต่อกันดี
มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันมากกว่า
หรือหากจะกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ
คนเหล่านั้นอาจมีและรู้คุณค่าของชีวิตได้ดีกว่าคนในสังคมเมืองใหญ่ที่มีการใช้เทคโนโลยี่ในระดับสูงแต่ไร้ที่พึ่งทางใจก็ได้
ดังนั้น
หน้าที่ของนักมานุษยวิทยาก็คือการอธิบายปรากฏการณ์ของแต่ละสังคมมากกว่าที่จะแสดงความคิดเห็นของตนต่อสังคมนั้น
ๆ ออกมา
จากการศึกษาสังคมและวัฒนธรรมต่าง
ๆ
ที่มีอยู่ในโลกเป็นระยะเวลานาน
และเขียนรายงานการวิจัยเผยแพร่เป็นจำนวนมาก
ทำให้นักมานุษยวิทยาสรุปว่า
ในบางกรณีมนุษย์มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับสิ่งแวดล้อม
ส่วนบางกรณีอิทธิพลของธรรมชาติมีผลต่อการดำเนินชีวิตของคนอยู่อย่างจำกัด
และไม่จำเป็นเสมอไปว่าสิ่งแวดล้อมเท่านั้นจะเป็นตัวกำหนดแนวทางความประพฤติของคนเสมอไป
ศาสตราจารย์เฮอร์สโกวิทส์
ได้จำแนกว่า
(1)
ในสังคมดั้งเดิมและสังคมที่มีการใช้เทคโนโลยี่ในระดับต่ำนั้น
สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติมีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิตอยู่ของคนมากกว่าความเชื่อ
ศาสนา
การจัดระเบียบทางสังคมและศิลปะต่าง
ๆ
(2)
ในสังคมที่มีการใช้เทคโนโลยี่ในระดับสูง
อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมมีบทบาทน้อยลง
แต่วัฒนธรรม ศาสนา
ความคิดความเชื่อกลับมีบทบาทต่อการแสดงออกทางพฤติกรรมของมนุษย์มากกว่า(5)
ข.
ความพยายามของคนที่จะเอาชนะธรรมชาติและพยายามปรับปรุงเครื่องมือเพื่อใช้ในการผลิตนั้นมีขึ้นตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
จนกระทั่งในปัจจุบัน
มนุษย์สามารถดำรงชีวิตอยู่ภายใต้การควบคุมของธรรมชาติน้อยที่สุด
ดังเช่น สังคมเกษตรกรรม
และสังคมอุตสาหกรรม
ต่อไปนี้จะขอยกตัวอย่างสังคมเกษตรกรรม
ซึ่งจะทำให้เห็นความแตกต่างจากตัวอย่างของสังคมดั้งเดิมที่ได้กล่าวไปแล้วเพื่อเปรียบเทียบอิทธิพลของธรรมชาติกับการดำรงชีวิต
.....หมู่บ้านเกาะเค็ดและหมู่บ้านสระมะเขือ
จังหวัดปราจีนบุรี
พื้นที่ของหมู่บ้านทั้งสองแห่งลาดเอียงจากทิศใต้สู่ทิศเหนือ
ทิศใต้ของหมู่บ้านนั้นเป็นที่ดอน
ชาวบ้านมักจะใช้เป็นที่ปลูกพืชไร่
เช่น ถั่วลิสง มันสำปะหลัง
มันแกวและผักสวนครัว รอบ ๆ
หมู่บ้านทั้งสองแห่งเป็นบริเวณนาข้าวซึ่งชาวบ้านปลูกข้าวโดยวิธี
"นาดำ" ในฤดูฝน
ส่วนฤดูแล้งจะปลูกพืชผักสวนครัวเล็กน้อย
ทางทิศเหนือของหมู่บ้านเป็นที่ลุ่ม
น้ำจะท่วมตลอดฤดูฝน
ชาวบ้านจึงนิยมปลูกข้าวเป็น
"นาหว่าน"
โดยใช้พันธุ์ข้าวหนีน้ำ
สภาพของดินของหมู่บ้านในจังหวัดนี้ทางทิศใต้เป็นดินร่วนปนทรายและดินลูกรัง
ส่วนรอบ ๆ
บริเวณหมู่บ้านจะเป็นดินร่วนปนทรายและดินเหนียว
ทั้งสองหมู่บ้านไม่ได้รับน้ำชลประทานเลย
อาศัยน้ำฝนในการปลูกข้าวและน้ำจากบ่อน้ำในการปลูกพืชฤดูแล้ง
(ระดับน้ำในฤดูนี้ประมาณ 2 - 3
เมตรต่ำจากผิวดิน)
|