สังคมไทยในปัจจุบันแบบแผนการทำมาหาเลี้ยงชีพของแต่ละภูมิภาคแต่ละท้องถิ่นมีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามระดับเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตและสภาพนิเวศ
ยังผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างตัวคนกับสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมาก
โดยแต่เดิมนั้น
คนไทยและคนเอเชียทั้งหลายที่อาศัยอยู่ในแถบเส้นศูนย์สูตรไม่ถือว่า
"ที่ดิน" เป็นเศรษฐทรัพย์แต่ถือว่าที่ทำกินที่ใช้ในการเพาะปลูกเป็นส่วนหนึ่งของระบบวัฒนธรรมที่ก่อให้เกิดความเคารพรักและหวงแหน
ทะนุถนอมเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากที่ดินเป็นระยะเวลายาวนาน
ดังนั้น
ความสัมพันธ์ของคนที่มีต่อที่ดินจึงมักเป็นไปในรูปของการให้ความเคารพ
โดยยกย่องว่าเป็น "พระแม่ธรณี"
และร่วมกันสร้างประเพณี
ทำพิธีบวงสรวง
และกล่าวคำขอขมาหากการ
กระทำของตนจะเป็นอันตรายต่อพื้นดิน
อาทิเช่น มีพิธีแรกนา
พิธีขอขมาต่อฟ้าดิน
และมีการตั้งข้อห้ามมิให้สบถสาบานต่อฟ้าดิน
เป็นต้น อนึ่ง
หากจะมีการยกย่องบุคคลที่ดำรงตำแหน่งสูงสุดทางสังคม
ก็จะมีการพาดพิงถึงดิน
เช่น พระเจ้าแผ่นดิน
อันเป็นการแสดงให้เห็นว่า
คนไทยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับสภาพแวดล้อมจนยากที่จะแยกคนออกจากที่ดินได้(1)
เมื่อกาลเวลาผ่านไป
ความสัมพันธ์ที่เอื้ออาทรระหว่างคนกับดินก็เปลี่ยนไปด้วยเมื่อคนเล็งเห็นว่าที่ดินเป็นเศรษฐทรัพย์
จึงมีการใช้ที่ดินทำกินที่มุ่งหวังจะได้รับประโยชน์สูงสุด
ดังเช่น การศึกษาของไมเคิล
คาราแวน นักมานุษยวิทยาชาวอเมริกันพบว่า
การปลูกพืชหมุนเวียนที่หมู่บ้านสันทราย
อำเภอสารภี
จังหวัดเชียงใหม่นั้น
ในหน้าฝนชาวบ้านจะปลูกข้าวตามกรรมวิธีที่เรียกว่า
นาดำ
หลังจากที่เก็บเกี่ยวข้าวแล้วก็จะปลูกกระเทียม
แตงโม หรือยาสูบ
หรือบ้างก็ปลูกถั่วลิสงในที่นาผืนเดียวกัน
วิธีการปลูกจะมีการใช้แรงงานและมีความร่วมมือกับเพื่อนบ้านที่มีลักษณะแตกต่างกันไปตามชนิดของพืช
อย่างไรก็ตาม
ในการเพาะปลูกมิได้ปล่อยที่ดินให้ว่างเพื่อการฟื้นตัวเลย(2) |