นักมานุษยวิทยาวัฒนธรรมมักจะกล่าวต่อไปว่า
ภายหลังที่มีการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมในคริศต์ศตวรรษที่
17 - 18 คนในยุโรปจึงมองเห็นความแตกต่างทางด้านพฤติกรรมหรือวัฒนธรรมระหว่างชนชาวยุโรปกับชนที่อาศัยอยู่นอกทวีปยุโรปได้อย่างชัดเจน
ประกอบกับการที่พวกเขาเดินทางออกไปค้นพบดินแดนใหม่ในทวีปต่าง
ๆ และได้พบพานผู้คนต่างวัฒนธรรมที่แปลก
ๆ มากมาย จึงบันทึกว่า
วิถีการดำเนินชีวิตและวัฒนธรรมของคนเหล่านั้นยังจัดอยู่ในขั้นพื้นฐาน
กล่าวคือ
ดำรงชีวิตอยู่แบบง่าย ๆ
ทั้งในด้านการแต่งกาย
ที่อยู่อาศัย
การหาอาหาร
และการแสดงออกทางพฤติกรรม
ซึ่งได้พัฒนาขึ้นมาจากวานรและมนุษย์โบราณเพียงเล็กน้อย
และจะต้องมีการพัฒนาให้ก้าวหน้าเป็นอารยธรรมดังเช่นของชาวยุโรป
ดังนั้นนักมานุษยวิทยาในยุคแรกจึงให้ความสนใจอย่างจริงจังในการศึกษาแบบแผนของวัฒนธรรมตามลำดับขั้น
เช่น วัฒนธรรมโอดูแวน
(ราว 1 - 5
ล้านปีมาแล้ว)
วัฒนธรรมอาซูเลียน (700,000
ปีมาแล้ว) วัฒนธรรมมูสเตอเรียน
(400,000 ปีมาแล้ว)
และวัฒนธรรมแม็กดาลิเนียน
(10,000 ปีมาแล้ว)
ดังนั้น
จึงมีการจำแนกประเภทของวัฒนธรรมที่ด้อยความเจริญว่า
วัฒนธรรมของคนเถื่อน (savage)
วัฒนธรรมของคนดั้งเดิม (primitive)
และวัฒนธรรมของผู้เจริญ
(civilization) อีกทั้งได้มีการเขียนหนังสือเพื่อวิเคราะห์วัฒนธรรมของคนนอกทวีปยุโรป
เช่น Ancient City โดยหลุยส์ เฮนรี
มอร์แกน (คศ. 1877) Primitive Culture
โดยเอ็ดเวอร์ด ไทเลอร์ (คศ.
1903) Golden Bough โดยเจมส์ เฟรเซอร์ (คศ.
1890) และ Ancient Law โดยเฮนรี เมน (คศ.
1861) เป็นต้น
ต่อมา
ชาวอเมริกันได้ยึดหลักวิเคราะห์วัฒนธรรมตามแนวของเอ็ดเวอร์ด
ไทเลอร์ผู้ซึ่งเขียนคำจำกัดความของคำว่าวัฒนธรรมไว้ว่า
"วัฒนธรรมหรืออารยธรรมคือลักษณะรวมทั้งหมดที่ประกอบด้วยความรู้
ความเชื่อ
ศิลปะ จริยธรรม
กฎหมาย ความสามารถทุกสาขา
และนิสัย
ซึ่งคนได้รับมาในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคม"(19)
|