4.
ยุคปัจจุบัน
ในปัจจุบัน
สาขามานุษยวิทยาสังคมยังคงรักษาเอกลักษณ์เดิมเป็นหลัก
กล่าวคือ
ผู้ศึกษาจะต้องออกไปสังเกตแบบมีส่วนร่วมกับคนในสังคมที่ต้องการศึกษาช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อเก็บข้อมูลที่เกิดขึ้นจริง
จากนั้นก็นำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อเขียนรายงาน
ส่วนวิธีการศึกษานั้น
ส่วนใหญ่ยังคงยึดมั่นในการมองความสัมพันธ์ของคนทั้งสังคม
ในขณะที่บางกลุ่มนิยมเลือกใช้วิธีการศึกษาแบบปัจเจกบุคคล
อย่างไรก็ตาม
ในยุคนี้เรามักจะเห็นว่ามีการใช้วิธีการมองสังคมด้วยการผสมวิธีการศึกษาทั้งสองแบบ
ทั้งนี้เพราะมีความเห็นกันว่า
การวิเคราะห์แบบปัจเจกบุคคลสามารถให้ข้อมูลในรายละเอียด
และกระจ่างชัด อย่างไรก็ตาม
พฤติกรรมของแต่ละบุคคลก็ไม่สามารถแสดงออกได้อย่างเป็นอิสระเกินขอบเขตข้อกำหนดของสังคมไปได้
ดังนั้น
คนในสังคมก็จะต้องประพฤติปฏิบัติตนภายใต้กฎเกณฑ์ของสังคม
(encapsulation) อยู่นั่นเอง(14)
ประการที่สอง
นักมานุษยวิทยาชาวยุโรป
อเมริกา
ฝรั่งเศสและคนผิวขาวยังคงมุ่งศึกษาสังคมวัฒนธรรมที่ตั้งอยู่นอกทวีปยุโรปอยู่เป็นหลัก
ในขณะที่นักมานุษยวิทยาของประเทศอื่นกลับสนใจศึกษาสังคมของตนเองเพื่อให้เข้าใจสังคมของตนดียิ่งขึ้น
รวมทั้งได้นำผลการศึกษาไปใช้ในการพัฒนา
การจัดการศึกษา
และการสงวนรักษาสภาพแวดล้อม
เป็นต้น อนึ่ง
นักมานุษยวิทยาจากบางประเทศ
เช่น ญี่ปุ่น
ก็จะสนใจศึกษาสังคมของตนเอง(15)
และออกไปศึกษาสังคมวัฒนธรรมของคนกลุ่มอื่นซึ่งรวมทั้งของไทยเราด้วย
ประการที่สาม
นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 60
แห่งคริสต์ศักราชเป็นต้นมา
ได้เกิดมีแนวการมองสังคมวัฒนธรรมแบบใหม่ซึ่งได้มีการพัฒนาขึ้นมาจากทฤษฎีโครงสร้าง
โดยนักมานุษยวิทยาชาวฝรั่งเศสชื่อ
เลวิ - สตร็อสส์ ผู้ซึ่งกล่าวว่า "ไม่ว่าสังคมจะเป็นชนิดใดก็ตาม
จิตของมนุษย์จะสร้างระบบโครงสร้างในการจำแนกความสัมพันธ์ออกเป็นหมวดหมู่"
จะเห็นได้ว่า
เขาพยายามอธิบายโครงสร้างทางสังคมว่ามีอิทธิพลมาจากโครงสร้างทางจิตซึ่งจะเป็นตัวการสำคัญในการกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์16
งานของเลวิ - สตร็อสส์สร้างความฮือฮาและกลายเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในหมู่นักวิชาการชาวยุโรปและอังกฤษ
(ดูรายละเอียดในบทที่ 15)
|