เมื่อมีการพัฒนา "ทางเลือกใหม่"
และช่วยกันปรับปรุงจนกลายเป็น
"วิธีการศึกษา"
ที่มีประสิทธิภาพ
นักมานุษยวิทยากลุ่มนี้ก็มีความเชื่อมั่นจะนำไปใช้ในการศึกษาสังคมเมืองใหญ่ที่มีโครงสร้างสังคมสลับซับซ้อน
และเริ่มนำเอาไปศึกษาสังคมยุโรป(12)
ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส
อิตาลี กรีก
และสังคมญี่ปุ่น
และกรุงเทพฯ เป็นต้น
ท่ามกลางกระแสคลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในเนื้อหาสาระของวิชา
ในด้านแนวคิดและทฤษฎีในการมอง
และผลการวิจัยที่ได้รับจากการศึกษาซึ่งนักมานุษยวิทยาสังคมได้ออกไปศึกษาสังคมต่าง
ๆ
ทั่วโลกตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่
19 สถานการณ์ของวิชาในยุคนี้ที่ปรากฏขึ้น
ก็คือ เกิดความหลายหลายด้านเนื้อหา
แนวคิด/ทฤษฎี
และวิธีการศึกษา ซึ่งยังผลให้เกิด "สำนัก"
และ "ผลการวิจัย"
ที่มีเอกลักษณ์พิเศษมากมายจนขาดเอกภาพ
รวมทั้งมีการถกเถียงและกล่าวหาแต่ละฝ่ายว่าใช้วิธีการศึกษา
และใช้ทฤษฎีที่ไม่ถูกต้องในการอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคม
ทั้งนี้เพราะแต่ละคนแต่ละสำนักต่างยึดตามแนวความคิดความเชื่อของตนเองมากจนเกินไป
ดังนั้น
สมาคมนักมานุษยวิทยาสังคมแห่งเครือจักรภพ
(The Association of Social Anthropologists of the
Common Wealth)
ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี
คศ. 1946
จึงได้เชื้อเชิญนักมานุษยวิทยาจากมหาวิทยาลัยต่าง
ๆ ในอังกฤษ
จากประเทศในเครือจักรภพ
และจากสหรัฐอเมริกาบางแห่งมาร่วมสัมมนาที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
ในเดือนมิถุนายน คศ. 1963
ภายใต้หัวข้อ "ทิศทางใหม่ของวิชามานุษยวิทยาสังคม"
จากนั้น ได้พิมพ์บทความที่นำเสนอในการสัมมนาออกมาเป็นหนังสือชุด
(A.S.A. Monographs) จำนวนมากกว่า 12 เล่ม13
อันเป็นการจัดวางขอบเขตและองค์ความรู้ในสาขาวิชานี้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
|