ความสัมพันธ์ทางสังคมที่กล่าวถึงนี้คนจะแสดงพฤติกรรมต่อกัน
ซึ่งจะมีลักษณะเสมือนเป็นตาข่ายหรือสายใย
(networks)
ที่เชื่อมโยงกันและกันในหมู่สมาชิก
ตาข่ายแห่งความสัมพันธ์นี้อาจแบ่งออกได้เป็นกลุ่ม
ๆ เช่น
ความสัมพันธ์ในแง่ครอบครัว
แง่การเมือง
แง่การศึกษาและการ
อบรมสั่งสอน แง่จริยศาสตร์
แง่ศาสนาและความเชื่อ
และแง่เศรษฐกิจและเทคโนโลยี
เป็นต้น
กลุ่มของความสัมพันธ์ในแต่ละแง่นี้นั้นจะเป็นความสัมพันธ์ที่มีต่อกันนาน
จนเกิดเป็นแบบแผนหรือกฎเกณฑ์ของความประพฤติที่เกี่ยวข้องในแง่นั้น
ซึ่งเราเรียกว่าเป็น "สถาบันทางสังคม"
(social institution)
โดยจะเรียกกลุ่มของความสัมพันธ์แต่ละชนิดเป็นสถาบันหนึ่ง
ๆ ในสังคม เช่น
สถาบันครอบครัว สถาบันการเมือง
สถานบันการศึกษา
สถาบันจริยศาสตร์และศาสนา
สถาบันนันทนาการ และสถาบันทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี
รายละเอียดของการเกิดขึ้นและการกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับสถาบันแต่ละสถาบันจะได้นำไปกล่าวในบทที่
9 - 14
จะเห็นได้ว่า
แนวการมองของนักมานุษยวิทยาของยุคนี้จะไม่ศึกษาสมาชิกของสังคมเป็นรายตัวหรือแต่ละบุคคล
(individual) แต่จะมองว่า
สมาชิกแต่ละคนจะต้องดำรง
"ตำแหน่ง" ทางสังคมและ
"แสดงบทบาท"
ไปตามที่สังคมคาดหวังให้กระทำเช่นนั้นเช่นนี้
อาทิเช่น
ผู้เป็นพ่อจะต้องแสดงบทบาทในการเป็นตัวอย่างที่ดีในการดำรงชีวิต
รักลูกรักภรรยา
สร้างฐานะและเลี้ยงดูครอบครัวและปกป้องคุ้มครองสมาชิกในครัวเรือนทุกคน
หากผู้ใดทำหน้าที่นี้ครบสมบูรณ์
ก็จะถือว่าเป็นพ่อที่ดี
หากไม่ทำการตามกฎเกณฑ์เหล่านี้
ก็จะถือว่าเป็นพ่อที่ใช้ไม่ได้
เป็นต้น
เมื่อพฤติกรรมของสมาชิกของสังคมโยงใยและเป็นตาข่าย
จึงมีการจำแนกออกเป็นหมวดหมู่ตามสถาบันทางสังคมแต่ละประเภท
ซึ่งสถาบันทางสังคมเหล่านี้ก็จะมีความสัมพันธ์ต่อกันและกลายเป็น
"โครงสร้างทางสังคม" (social
structure) ขึ้นมา เฉกเช่น
เนื้อเยื่อ/เซลจะรวมกันเป็นอวัยวะแต่ละชิ้น
เช่น แขน
ขา ลำตัว หู
ตา หัวใจ
และอวัยวะทุกชึ้นก็จะประกอบกันขึ้นเป็นโครงสร้างทางร่างกายของคนเรา
เราจึงเรียกแนวการมองสังคมแบบนี้ว่า
ทฤษฎีโครงสร้าง อนึ่ง
สถาบันทางสังคมแต่ละสถาบันก็จะมีหน้าที่เฉพาะอย่างเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมเพื่อให้สมาชิกดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างเป็นสุข
เราก็เรียกแนวการมองตามหน้าที่ประโยชน์นี้ว่า
ทฤษฎีหน้าที่
ต่อมา
ก็มีการรวมทฤษฎีโครงสร้างและทฤษฎีหน้าที่เข้าด้วยกัน
และตั้งชื่อว่า
ทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่
(Structural and Functional Theory)(6)
|