แล้วช่วยกันสร้างองค์ความรู้เรื่องราวของสังคมวัฒนธรรมอื่นอย่างมีระเบียบแบบแผน
ก็เกิดการสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับสังคมวัฒนธรรมขึ้นโดยใช้ความรู้จากบันทึกต่าง
ๆ ที่ได้รับเป็นพื้นฐาน
ทำให้ความรู้ในเรื่องชาติพันธุ์เกี่ยวกับคนในสังคมอื่นเจริญรุ่งเรืองและได้รับความสนใจจากคนทั่วไป
ดังนั้น ในปี คศ. 1843
จึงได้เกิดสมาคมทางวิชาการชื่อ
สมาคมการศึกษาชาติพันธุ์มนุษย์แห่งสหราชอาณาจักร
(Ethnological Society of Great Britain)
หรืออาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า
สถาบันการศึกษาวิชามานุษยวิทยา
(Royal anthropological Institute)
ทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาทางด้านชาติพันธุ์วิทยา
(Ethnology)*
รวมทั้งเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกับสาขามานุษยวิทยากายภาพ
สาขาโบราณคดีและสาขามานุษยวิทยาสังคม
อนึ่ง
สถาบันแห่งนี้ได้ออกวารสารชื่อ
The Journal of the Royal Anthropological Institute of Great Britain and
Ireland (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น
MAN)
เพื่อเผยแพร่ผลงานของเหล่านักมานุษยวิทยา
ต่อมา
เมื่อนักมานุษยวิทยาเริ่มออกไปหาความรู้ด้วยการไปอาศัยอยู่ร่วมกันคนในสังคมที่ต้องการศึกษา
พวกเขาจำเป็นต้องศึกษาภาษาของคนในสังคมนั้น
ๆ
เพื่อที่จะสามารถเข้าใจสภาพและลักษณะของสังคมวัฒนธรรมอย่างถ่องแท้
ดังนั้น สาขาภาษาศาสตร์จึงเป็นอีกวิชาหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในสถาบันดังกล่าว
สถาบันการศึกษาวิชามานุษยวิทยาได้ทำหน้าที่อย่างแข็งขันทั้งในภาคทฤษฎีและภาคการออกสนามเพื่อการวิจัย
ทำให้ความรู้ในวิชามานุษยวิทยาเฟื่องฟูและเจริญก้าวหน้ากว้างไกลไปทั่วโลก
นักวิชาการชั้นนำในสาขามานุษยวิทยาสังคม(4)
ได้ชี้แจงว่า
เป้าหมายหลักของวิชานี้ก็คือการศึกษาเกี่ยวกับ
"สังคม" (society)
โดยนำเอาความคิดพื้นฐานเริ่มแรกมาจากนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสชื่อ
ออกัส ค้องท์ (August Comte
มีชีวิตอยู่ในระหว่างปี
คศ. 1798 - 1857) และชาวอังกฤษชื่อ
เฮอร์เบอร์ท สเปนเซอร์ (Herbert
Spencer 1820 - 1903)
ผู้ซึ่งให้ความสนใจศึกษาเกี่ยวกับสังคมว่าเป็นเสมือนสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง
สังคมที่ว่านี้จะเกิดขึ้นและพัฒนาเจริญก้าวหน้าไปเรื่อย
ๆ จากสังคมดั้งเดิม
จนกลายเป็นสังคมสมัยใหม่
|