บทที่ 8 มานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม  >> หน้า 3


                สำหรับวิชามานุษยวิทยาในประเทศไทยของเรานั้น จากหลักฐานที่ค้นพบแสดงให้เห็นว่า คนไทยให้ความสนใจศึกษาวัฒนธรรมและสังคมของชนชาติอื่น ทั้งที่ตั้งอยู่ในแถบสุวรรณภูมิและทั่วโลกมาเป็นเวลาช้านานแล้ว ดังจะเห็นได้จากประวัติศาสตร์ที่ไทยติดต่อเกี่ยวข้องกับต่างชาติต่างภาษา เช่น เปอร์เซีย ญี่ปุ่น ฮอลันดา ปอร์ตุเกต อังกฤษ ฝรั่งเศส ฯลฯ และชนต่างเผ่าในแถบเอเชียอาคเนย์ เช่น ขมุ ละว้า กะเหรี่ยง เย้า ฉาน กะฉิ่น พม่า ลาว เขมร อินโดนีเซีย ฯลฯ ทำให้เกิดความต้องการที่จะเรียนรู้สังคมและวัฒนธรรมของพวกเขา ผลการศึกษาได้ปรากฏแพร่หลายในรูปนิทาน พงศาวดาร ศิลาจารึก เป็นต้น  ต่อมา เมื่อมีการศึกษา "องค์ความรู้ทางด้านมานุษยวิทยา" ที่คิดค้นขึ้นโดยพวกฝรั่ง นักมานุษยวิทยาไทยส่วนใหญ่ก็นำแนวคิด ทฤษฎี และวิธีการศึกษามาใช้ในการศึกษาสังคมไทย และสังคมของชนกลุ่มน้อยที่อยู่ในประเทศไทย เช่น ชาวเขา และเงาะซาไก  ปัจจุบัน ผลงานที่เกี่ยวกับสังคมวัฒนธรรมไทยมีอยู่มากมาย ซึ่งสามารถหาอ่าน/ศึกษาตามห้องสมุด   และศูนย์วิจัยในสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ทำให้คนไทยในยุคนี้สามารถเข้าใจเรื่องราวสังคมและวัฒนธรรมของไทยและของเทศที่เป็นระบบตามระเบียบแบบแผนของการศึกษาวิชามานุษยวิทยาสากล

 

มานุษยวิทยาสังคม

                นักวิชาการชาวอังกฤษจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วสหราชอาณาจักรจะเรียกตัวเองว่า นักมานุษยวิทยาสังคม  อนึ่ง เนื่องจากประเทศอังกฤษได้เปิดสอนสาขาวิชานี้มาช้านานและเป็นแหล่งให้การศึกษาแก่คนจากประเทศต่าง ๆ ในเครือจักรภพทุกประเทศเพื่อนำความรู้กลับไปสอนในสถานศึกษาในประเทศของตน ทำให้นักวิชาการของประเทศเหล่านั้น  อาทิเช่น แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ มาเลเซีย อินเดีย ศรีลังกา  และประเทศในทวีปแอฟริกา  ลาตินอเมริกา รวมทั้งอเมริกาใต้ ตลอดจนบางส่วนของสหรัฐอเมริกาที่ผู้ที่จบการศึกษาจากประเทศอังกฤษ และ คนอังกฤษที่ย้ายไปสอนในมหาวิทยาลัยของสหรัฐฯ อีกทั้งนักวิชาการไทย และญี่ปุ่นบางส่วนที่ได้รับการศึกษาจากประเทศอังกฤษ จะเรียกตัวเองว่านักมานุษยวิทยาสังคมแทบทั้งสิ้น

                ประวัติการก่อตั้งและการศึกษาวิชามานุษยวิทยาสังคมในสหราชอาณาจักรมีเรื่องราวที่น่าสนใจยิ่ง กล่าวคือ ในอดีตเมื่อมีการนำบันทึกและความรู้ที่คนท่องเที่ยวและ/หรือไปปกครองดินแดนอาณานิคมจากทั่วโลกมาจัดเป็นระบบ