ดังนั้น
องค์การยูเนสโกจึงลงความเห็นว่า...ในทางมานุษยวิทยา
คำว่าชาติพันธุ์ใช้ในการแบ่งกลุ่มมนุษยชาติซึ่งมีลักษณะสีผิวทางด้านร่างกายแตกต่างกัน
ความแตกต่างกันนี้เป็นความแตกต่างขั้นพื้นฐานทางธรรมชาติและสืบต่อไปยังลูกหลานได้โดยทางพันธุกรรม
การจัดกลุ่มของมนุษย์โดยวิธีนี้
นักมานุษยวิทยาได้ใช้กฎเกณฑ์ของการแบ่งทางสัตวศาสตร์
หรืออีกนัยหนึ่งก็คือแบ่งตามหลักของชีววิทยา... แต่ต้องขอย้ำว่าการแบ่งแยกกลุ่มซึ่งอาศัยชาติพันธุ์เป็นหลักนี้
"ไม่ใช้"
เป็นสื่อสำคัญในทางมานุษยวิทยามากนัก
ทั้งนี้
ลักษณะของความแตกต่างด้านอื่นซึ่งซับซ้อน
และมีความหมายในเชิงนิตินัยยังมีอีกมาก...
คนเราไม่ว่าจะเป็นคนมีผิวพรรณแบบไหน
ก็ย่อมมีจิตใจที่คล้ายคลึงกัน
บางคนเป็นคนดี บางคนก็เป็นคนเลวควบคู่กันไป
คนทุกสีผิวอาจมีความรู้ความฉลาดและสามารถเท่าเทียมกันถ้าหากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่คล้ายคลึงกัน
ขนาดของร่างกาย
จากการที่โครงสร้างและรูปร่างทางร่างกายของมนุษย์มีขนาดแตกต่างกัน
ทำให้นัก มานุษยวิทยากายภาพให้ความสนใจค้นหาสาเหตุของความแตกต่างดังกล่าว
ด้วยการตั้งสมมติฐาน
เช่น กฎทางสัตวศาสตร์ที่เรียกว่า
Bergman's rule กล่าวว่า
กลุ่มมนุษย์ที่มีโครงสร้างทางร่างกายขนาดเล็กมักจะพบว่าอาศัยอยู่ตามบริเวณเส้นศูนย์สูตร
ส่วนกลุ่มที่มีร่างกายสูงใหญ่จะพบในเขตอากาศหนาว5
เมื่อนำทฤษฎีนี้มาตรวจสอบกับข้อเท็จจริง
ปรากฏว่าในบางกรณีอาจไม่ตรงกับความเป็นจริง
เช่น ชาวเอสกิโมมิได้มีขนาดร่างกายสูงใหญ่ทั้ง
ๆ
ที่อาศัยอยู่ในเขตขั้วโลก
อย่างไรก็ตาม
ผู้ตั้งทฤษฎีก็ให้เหตุผลต่ออีกว่า
แม้ว่าพวกเอสกิโมจะเตี้ย
แต่พวกเขาก็มีร่ายกายที่แข็งแรง
อกหนา ขาสั้น
มีนิ้วมือนิ้วเท้าสั้น
ซึ่งลักษณะดังนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเก็บรักษาความร้อนของร่างกายได้เป็นอย่างดี
ในทางตรงกันข้าม ชาวแอฟริกันเผ่าไนโลติกที่อาศัยอยู่ในบริเวณเขตร้อนมีความสูงกว่า
180 ซม.ขึ้นไป แต่พวกนี้กลับผอม
เอวบาง และลำตัวยาว
แขนขายาว
ลักษณะเช่นนี้มีความเหมาะสมต่อการมีชีวิตอยู่ในเขตร้อน
|