โดยเชื่อกันว่าเป็นโฮมินิดกลุ่มแรกที่แยกสายวิวัฒนาการออกจากวานร
ซึ่งถือกันว่าเป็นจุดเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญ ทำให้เราสามารถสืบสายการวิวัฒนาการต่อไปเป็นมนุษย์โบราณ
นั่นคือ เป็นการค้นพบ "missing
link" ได้แล้ว
มนุษย์ปัจจุบันสืบสายการพัฒนามาจากสกุลโฮโม
แต่สกุลนี้ก็แยกออกเป็น
2 สปิชี่ ได้แก่ โฮโม อีเรคตัส
และโฮโม เซเปียนส์
ในที่สุด โฮโม เซเปียนส์ก็กลายเป็น
โฮโม เซเปียนส์ เซเปียนส์หรือมนุษย์เราท่านดังที่เห็นกันในทุกวันนี้
การสืบสาวหาเรื่องราวเกี่ยวกับการวิวัฒนาการของมนุษย์ซึ่งเป็นงานของนักมานุษยวิทยากายภาพได้สิ้นสุดลงเมื่อมนุษย์สามารถเขียนภาพและบันทึกเป็นตัวหนังสือ
เพราะงานต่อจากนี้ไปตกเป็นภาระหน้าที่ของนักประวัติศาสตร์ที่จะรวบรวมหลักฐานที่ได้รับการจดหรือบันทึกด้วยภาษามาถ่ายทอดให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาหาความรู้กันต่อไป
จะเห็นได้ว่า
หน้าที่หลักของนักมานุษยวิทยากายภาพจึงเน้นไปที่การศึกษาการวิวัฒนาการของยุคก่อนประวัติศาสตร์
หรือที่มีชื่อเรียกเฉพาะว่า
วิชามานุษยวิทยาสาขาโบราณศึกษา
(Paleoanthropology
ดูคำจำกัดความในตอนต้นของบทที่
5)
อย่างไรก็ตาม
ในยุคประวัติศาสตร์ที่มนุษย์สามารถบันทึกหลักฐานต่าง
ๆ ด้วยตัวหนังสือได้
ก็มีนักมานุษยวิทยาบางกลุ่มให้ความสนใจเรื่องราวต่อมา
หรือมีชื่อเรียกเฉพาะว่า
วิชามานุษยวิทยาเชิงประวัติศาสตร์
(Historical Anthropology)
และอีกสาขาหนึ่งชื่อวิชามนุษยวิทยาเชิงโบราณคดี
(Archaeological Anthropology) ทำหน้าที่ต่อจากนักมานุษยวิทยากายภาพในการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับมนุษยชาติหลัง
40,000 ปีลงมา โดยศึกษาจากบันทึกที่มีการจดไว้
วัตถุสิ่งก่อสร้าง
ศิลปวัฒนธรรม
และเทคโนโลยีทุกประเภทเพื่อศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมกับการดำรงชีวิตของมนุษย์
นับตั้งแต่มนุษย์โครมันยองมาจนถึงปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร
มีการพัฒนาเป็นลำดับอย่างไรบ้าง
หลักฐานที่ปรากฏเกี่ยวกับการเกษตรกรรม
เช่น การไถ เพาะปลูก
และเก็บเกี่ยวนั้น
ชี้ให้เห็นว่า
มนุษย์เริ่มการเพาะปลูกเมื่อ
10,000 ปีที่แล้ว
บริเวณแหล่งเพาะปลูกโบราณที่สำคัญในยุคต้น
ได้แก่ ตอนเหนือของจีน
แถบประเทศเม็กซิโก
และเปรู(8)
|