ข. มนุษย์ปักกิ่ง
ในกรณีการค้นพบซากกระดูกในจีนนั้น
ผู้ที่มีส่วนสำคัญ ได้แก่
เดวิดสัน แบล็ค (Davidson Black) และฟรานซ์
ไวเดนริช (Franz Weidenreich)
ในระหว่างปี คศ. 1928 - 1937
โดยแท้จริงแล้ว
การค้นหาหลักฐานในประเทศจีนได้กระทำกันตั้งแต่ปี
คศ. 1911 เมื่อกันนาร์
แอนเดอร์สัน (J. Gunnar Andersson)
นักธรณีวิทยาชาวสวีเดนได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาของรัฐบาลจีนเพื่อทำการสำรวจแหล่งถ่านหิน
ในขณะที่เขาทำงานในฐานะที่ปรึกษาอยู่นั้นแอนเดอร์สันให้ความสนใจในเรื่องการวิวัฒนาการของมนุษย์
จึงพยายามหาหลักฐานตามแหล่งต่าง
ๆ ที่เขาออกสำรวจอยู่เสมอ
จนกระทั่งในปี คศ. 1921
เขาได้พบซากกระดูกที่หมู่บ้านโจวโข่วเตี้ยน
ตั้งอยู่ห่างจากนครปักกิ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ราว
30 ไมล์ นอกจากนี้
เขายังพบกระดูกของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมากกว่า
20 ชนิด และฟันกราม 2
ซี่ซึ่งเขาคิดว่าน่าจะเป็นฟันของมนุษย์โบราณ
แต่เขาก็ยุติการค้นหาต่อ
การค้นพบฟันกรามของแอนเดอร์สันก่อให้เกิดความสนใจจากนักวิทยาศาสตร์ทั่วไป
โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อนายแพทย์เดวิดสัน
แบล็คแห่งวิทยาลัยการแพทย์
กรุงปักกิ่ง
จึงได้รวบรวมกลุ่มนักวิชาการหลายคนทำการค้นหาซากโฮมินิดอย่างจริงจังตั้งแต่ปี
คศ. 1928 เป็นต้นมา
นักวิจัยในกลุ่มนี้พบซากกระดูกจำนวนมาก
เมื่อนำมาวิเคราะห์ในห้องทดลอง
จึงได้ตั้งชื่อซากโฮมินิดนี้ว่า
ซิแนนโธรปัส (Sinanthropus)
หรือเรียกง่าย ๆ ว่า
มนุษย์ปักกิ่ง ต่อมา
ก็สรุปว่าซากฟันกรามและหัวกะโหลกที่ค้นพบจัดอยู่ในสปิซี่โฮโม
อีเรคตัส
อนึ่ง นายแพทย์ฟรานซ์
ไวเดนริช
ชาวเยอรมันผู้ซึ่งเป็นอาจารย์วิชากายวิภาคศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยชิคาโกก็ได้ออกมาค้นหาบรรพบุรุษของมนุษย์ที่หมู่บ้านโจวโขว่เตี้ยนนี้เช่นเดียวกันในระหว่างนี้
คศ. 1935-1937
เขาได้พบหลักฐานที่สนับสนุนการมีชีวิตอยู่ของโฮโม
อีเรคตัสมากมาย
2.
ทวีปยุโรป : มนุษย์ไฮเดลเบอร์ก
ศาสตราจารย์ออตโต้
ชูเทนแซค (Otto Schoetensack)
แห่งมหาวิทยาลัยไฮเดลเบอร์กได้ศึกษากระดูกขากรรไกรล่างที่เจ้าของบ่อดูดทรายพบที่บ่อทรายของเขาส่งไปใช้
เมื่อวิเคราะห์อย่างละเอียดจึงตั้งชื่อว่า
โฮโม ไฮเดลเบอร์เจนซิส (Homo
heidelbergensis)
หรือที่รู้จักกันในนาม
มนุษย์ไฮเดลเบอร์ก
ซึ่งจัดอยู่ในสปิชี่โฮโม
อีเรคตัส
|