จุดเชื่อมต่อระหว่างวานรกับบรรพบุรุษของมนุษย์
ดังที่กล่าวแล้วว่า
การค้นพบกระดูกของรามาพิธิคัส
ทำให้เชื่อกันว่าเป็นโฮมินิดรุ่นแรก
แต่นักวิทยาศาสตร์ในยุคนั้นบางคนก็ยังไม่ปักใจเสียทีเดียวว่าสิ่งที่ค้นพบจะเป็นต้นบรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบัน
ทั้งนี้เพราะซากที่พบเป็นเพียงแค่กระดูกขากรรไกรส่วนบนที่มีฟันอยู่เพียง
2 - 3 ซี่ ต่อมาภายหลัง
ก็พบเศษกระดูกขากรรไกรส่วนล่าง
ซึ่งสามารถประกบกับส่วนบนที่พบก่อนหน้าได้ดี
ทำให้สามารถดูลักษณะว่าแตกต่างจากพวกวานร
ทำให้นักวิชาการบางคนสรุปว่า
รามาพิธิกัส
ก็คือโฮมินิดรุ่นแรกที่เชื่อมต่อระหว่างวานรกับมนุษย์
อย่างไรก็ตาม
บางคนยังไม่ค่อยแน่ใจว่า
รามาพิธิคัสเป็น "จุดเปลี่ยนผ่าน"
(missing link) จากวานรเป็นโฮมินิด
แต่ก็ยอมรับกันว่า
ซากของรามาพิธิคัสมิใช่เป็นของวานรอย่างแน่นอน ดังนั้น
ขบวนการค้นหาเพื่อพิสูจน์จุดเปลี่ยนผ่านนี้ก็ได้กระทำกันอย่างรีบเร่งและเป็นไปอย่างกว้างขวาง
หนังสือเล่มนี้จะไม่ขอกล่าวรายละเอียดเกี่ยวกับการค้นหาและเรื่องราวการวิเคราะห์ซากหลักฐานที่ค้นพบเพื่อหาข้อสรุปสายแห่งวิวัฒนาการ
ผู้สนใจสามารถหาอ่านได้จากหนังสือมานุษยวิทยากายภาพทั่วไป(6)
ในที่นี้
จะนำผลที่ได้รับการยอมรับกันแล้วว่า
โฮมินิดเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อใด
สายวิวัฒนาการของโฮมินิดจำแนกออกเป็นกี่สาย
และสามารถสร้างวัฒนธรรมเพื่อใช้ในการดำรงชีวิตอะไรได้บ้าง
ออสตราโลพิธิคัส
(Genus : Australopithecus)
ชาลส์ ดาร์วินได้เขียนไว้ในหนังสือชื่อ
The Descent of Man เมื่อปี คศ. 1871 ว่า
"ปัจจุบัน
เราพบวานรที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับมนุษย์มากที่สุด
อาทิเช่น ซิมแปนซี
และกอริลล่านั้น
มีถิ่นที่อยู่ในทวีปแอฟริกา
จึงน่าจะเชื่อได้ว่าบรรพบุรุษของมนุษย์น่าจะมีถิ่นกำเนิดครั้งแรกในบริเวณกาฬทวีปแห่งนี้มากกว่าที่จะเกิดขึ้นในทวีปอื่น"
|