เราอาจตั้งคำถามว่านักมานุษยวิทยาใช้เกณฑ์อะไรในการแบ่งแยกวานรออกจากโฮมินิดยุคต้น
ทั้งนี้เพราะซากที่ค้นพบไม่อาจกำหนดถึงความแตกต่างทางสรีระอย่างมีนัยสำคัญจริงอยู่ที่กระดูกขากรรไกรส่วนบนที่ค้นพบจะแสดงให้เห็นว่า
ฟันกรามมีขนาดค่อนข้างใหญ่
และเคลือบด้วยหินปูนค่อนข้างหนา
ส่วนเขี้ยวหรือฟันที่อยู่บนส่วนโค้งของขากรรไกรทั้งสองข้างมีขนาดเล็ก
และฟันหน้าเรียงตั้งตรง
นอกจากนั้น
ใบหน้าค่อนข้างตั้งตรง
ไม่ลาดเอียงเหมือนวานร
แต่เราก็ไม่อาจชี้ชัดลงไปอย่างแน่นอนว่า
นี่เป็นโฮมินิดรุ่นแรกจริง
ๆ ด้วยเหตุนี้
จึงมีการตั้งคำจำกัดความใหม่ว่า
"โฮมินิด ก็คือ
ผู้ที่สามารถสร้างเครื่องไม้เครื่องมือได้"
ความสามารถในการสร้างเครื่องไม้เครื่องมือเป็นคุณลักษณะที่กำหนดขนาดของสมอง
โครงสร้างของฟัน
และการเคลื่อนไหวที่ทำให้โฮมินิดสามารถสร้าง
"วัฒนธรรม"
เพื่อใช้ในการดำรงชีวิต
นั่นหมายความว่า เมื่อเรากล่าวถึงโฮมินิด
เรามักจะหมายถึงสิ่งมีชีวิตที่สร้างและพึ่งพาวัฒนธรรมเพื่อการดำรงชีวิต
โดยวัฒนธรรมที่กล่าวถึงนี้จะใช้ในการควบคุมธรรมชาติ
จะเห็นได้ว่า วัฒนธรรมจะไม่ปรากฏในสัตว์ชั้นต่ำกว่ามนุษย์
ตัวอย่างเช่น
แม้ว่าชิมแปนซีจะ
สามารถใช้ไม้แหย่รังปลวกเพื่อให้มันวิ่งออกมาให้จับเป็นอาหาร
แต่ไม้ที่ใช้ก็นำมาจากธรรมชาติโดยไม่ได้รับการดัดแปลงใด
ๆ ดังนั้น
การที่จะมีวัฒนธรรมได้นั้นจะต้องมีการใช้กระบวนการทางสมอง
โดยสามารถสร้าง "สัญลักษณ์"(5)
เพื่อเพิ่มคุณค่าให้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ
ด้วยเหตุนี้
มนุษย์จึงสามารถชี้ถึงความแตกต่างระหว่างน้ำกับน้ำมนต์ได้
แต่วานรอาจรับรู้เพียงแต่ว่า
น้ำทำให้เปียกและกินได้เท่านั้น
ดังนั้น
การวิเคราะห์เรื่องการวิวัฒนการของมนุษย์จึงเป็นหน้าที่ที่นักมานุษยวิทยากายภาพจะต้องศึกษาทั้งการพัฒนาโครงสร้างทางชีวภาพไปพร้อม
ๆ
กับการวิเคราะห์วัฒนธรรมตั้งแต่เริ่มเกิดมีมนุษย์ขึ้นบนโลก
โดยทั่วไปแล้ว
วัฒนธรรมในยุคต้น ๆ นี้
มนุษย์จะสร้างวัฒนธรรมขั้นพื้นฐานที่ทำให้ชีวิตอยู่รอด
ได้แก่ การเลี้ยงดูลูก
การสร้างเครื่องไม้เครื่องมือในการดักจับสัตว์และฆ่าสัตว์
เช่น หอกไม้ มีดหิน
(โดยกะเทาะหินให้มีความคม
เพื่อใช้ตัดสิ่งของ)
ขวานหิน
ต่อมาก็จะมีการสร้างวัฒนธรรมขั้นสูงขึ้น
เช่น ภาษา การรู้จักใช้ไฟ
การนำหนังสัตว์มาทำเสื้อผ้า
การสร้างที่อยู่อาศัย และการใช้ชีวิตอยู่เป็นครอบครัวและเป็นกลุ่มสังคม
เป็นต้น
|